จีน ไม่ได้เป็นเพียงประเทศ ที่เป็นผู้นำพัฒนาการทางด้านนวัตกรรม ชิปปิ้ง และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านดิจิทัลที่ก้าวล้ำอีกด้วย
โดยข้อมูลจากสมาคมดิจิทัลไทย ภายในงานเสวนา ‘BIG Change to BIG Change Future Economy & Internet Governance’ หรือการถกประเด็นด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีน ได้สรุปเทรนด์ดิจิทัลโลก VS จีน ในปี 2020 ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดย Thaitopcargo ได้สรุปเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังต่อไปนี้
- นครหางโจว เมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง กลายเป็นเมืองดิจิทัลไปแล้ว และคนในเมืองก็กลายเป็นพลเมืองดิจิทัล ไม่ว่าจะทำอะไร ผู้คนจะใช้แอปพลิเคชั่นเป็นหลัก อาทิ สั่งไก่ KFC มารับประทานที่บ้าน ซื้อของในห้างสรรพสินค้า ชิปปิ้ง ออนไลน์ ซื้อตั๋วโดยสารรถไฟ รวมไปถึงการเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ เราจะไม่เห็นคนจีนยืนอยู่ข้างทางกันอีกต่อไปแล้ว
- ประเทศจีนใช้ Big Data ในการทำนายอนาคต รวมไปถึงการหาลูกค้า ยกตัวอย่างสินค้าที่ขายในที่โจ่งแจ้งไม่ได้ เช่น เจลหล่อลื่น (18+) หากอยากทำตลาดในไทย แต่ไม่มี Data ของคนไทย ก็จะใช้วิธีโฟกัสกลุ่มผู้ชายในโลกโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ซึ่งพบว่ามีชายไทย ที่น่าจะเป็นลูกค้าสูงถึง 30% ในทางที่เป็นไปได้น่าจะหาได้มากกว่านั้น จึงมีการหาวิธีเพิ่มว่าใช้อัลกอริทึมหาชายไทยบนเฟซบุ๊กแบบไม่ระบุอายุ มีการให้ AI ในการช่วยค้นหาผู้ที่ชอบเปลี่ยนรูปโปรไฟล์บ่อยๆ (ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10 ครั้ง) และมักจะเป็นรูปโชว์กล้าม ผลลัพธ์ที่ได้คือช่วยให้เจอกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริงๆ ถึง 70% เลยทีเดียว
- จีนให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาคนเป็นอย่างมาก เช่น ส่งเสริมการสร้างทักษะผู้ประกอบการให้แก่ประชากรตั้งแต่วัยเรียน อาทิ นักศึกษามหาวิทยาลัยต้องมีการทำแอปพลิเคชั่นให้มีผู้ใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน จึงจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้
- ค่านิยมในการสร้างคนเกิดขึ้นในองค์กรธุรกิจภายในจีน อย่าง ชิปปิ้ง คือจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและมีพื้นที่ให้ใช้ เช่น E-Commerce Park มีลักษณะคล้ายกับ Co-Working Space สำหรับนักศึกษาฝึกงานหรือเพิ่งจบใหม่ ให้มีพื้นที่ทำงานและมีการจับคู่คนที่มีแนวคิดตรงกัน มาทำงานร่วมกันเพื่อมองปัญหา หาวิธีแก้ปัญหา และการสร้างธุรกิจตั้งแต่เรียนปี 3 เมื่อผ่านระดับหนึ่งถึงจะเข้าสู่กระบวนการสร้าง Micro SMEs หากมีผู้ใช้งานและรายได้เข้าราว 5 ล้านบาท จะช่วยขยับธุรกิจเพื่อนำไปพัฒนาตนเองต่อได้
- มีการแนะนำ ชิปปิ้ง ร้านค้าและผู้ประกอบการชาวไทยในการติดตั้งแอปพลิเคชั่นรับชำระเงินจากคนจีน เช่นเดียวกับร้านสะดวกซื้อ เพื่อให้คนจีนใช้จ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น
- เมื่อกลางปีปี 2018 แจ็คหม่า และ โพนี่ หม่า สองผู้บริหารใหญ่จาก Alipay และ Wechat Pay ได้มีการจับมือทำสแกนจดจำใบหน้าหรือ Face Recognition เพื่อให้ชาวจีนที่มี Alipay และ Wechat Pay อยู่แล้ว สามารถสมัครใช้งาน โดยการถ่ายรูปใบหน้า (หากมีการไปทำศัลยกรรมมา ควรมีการถ่ายรูปใหม่) ที่เครื่องลงทะเบียน โดยข้อมูลจะถูกบันทึกเข้าระบบ ทำให้สามารถสแกนใบหน้าเพื่อทำรายการออนไลน์ต่างๆ ได้เลยทันที
- คนจีนรุ่นใหม่โดยเฉพาะที่เมืองหางโจวและเซินเจิ้น เริ่มไม่ใช้แอปพลิเคชั่นกันแล้ว แต่หันมาใช้การสแกนจดจำใบหน้า Face Recognition แทน ตั้งแต่การก้าวเข้าประตูร้านค้า (บางร้าน) เมื่อระบบสแกนใบหน้าเสร็จ จะมีการแสดงข้อความ Welcome …..(Name)…..จนกระทั่งเมื่อหยิบสินค้าจากชั้นวาง ไปจนกระทั่งเดินออกจากร้าน ระบบจะทำการหักเงินในบัญชีได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนสแกน QR Code ล่าสุดได้มีการแบ่งคนจีนเป็น ‘พลเมืองชั้นหนึ่ง’ กับ ‘พลเมืองชั้นสอง’ จากการใช้เทคโนโลยีกันเลยทีเดียว โดยคนที่ Face Recognition ในการชำระเงิน คือ กลุ่ม Mobileless Society เป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง ส่วนคนที่ยังใช้ QR Code ชำระเงิน คือกลุ่ม Cashless Society จัดให้เป็นพลเมืองชั้นสอง
จะเห็นได้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเมืองจีน ก้าวเข้าสู่การใช้แอปพลิเคชั่นและการสแกนใบหน้ามากยิ่งขึ้น นับเป็นการอำนวยความสะดวกและจัดระบบการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาเริ่มตั้งแต่เยาวชนจนไปถึงระดับผู้ประกอบการ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองในประเทศจีนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยลงลึกไปยังผู้ที่จะเป็นรากฐานขึ้นมาก่อน ไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาความรู้เท่านั้น รวมไปถึงการพัฒนาความสามารถ และสามารถลงมือปฏิบัติใช้งานได้จริง
ไม่เพียงแค่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศจีนเท่านั้น ธนาคารกลางของจีน (Central Bank Digital Currency : CBDC) ได้เตรียมออก ‘เงินดิจิทัล’ ซึ่งเป็นรายแรกของโลกอีกด้วย โดยสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) คือ เงินตราชนิดใหม่ที่ออกโดยธนาคารกลาง และได้รับการค้ำมูลค่ากับทางสานทรัพย์ที่สถาบันการเงินพาณิชย์ฝากไว้ในธนาคารกลาง จึงทำหน้าที่ได้เสมือนกับหลักทรัพย์ตามกฎหมาย
มีข้อมูลเปิดเผยมาอีกว่า สำหรับเงินดิจิทัลจะถูกใส่ไว้ในกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมโดยตรงและแบบระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ซึ่ง “กระเป๋าเงิน” ที่ว่าอาจเป็นแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างการออกแบบ
ถึงอย่างนั้นยังเป็นเพียงการทดสอบระบบที่ว่าอยู่ในแบบวงจำกัด มีการจำลองการชำระเงิน โดยมีสถาบันการเงินพาณิชย์และที่ไม่ใช่ของรัฐบาลบางส่วนเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ด้วย และในช่วงต้น สกุลเงินดิจิทัลจากธนาคารกลางจะถูกใช้งานเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนเดียวกันกับเงินปกติ ทั้งนี้สกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวจะถูกนำมาแทนที่ธนบัตรและเหรียญ ซึ่งเป็นเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอีกด้วย (Cash in circulation) ถือว่าเป็นก้าวสำคัญทั้งระบบเทคโนโลยีและการหมุนเวียนครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศจีน
ด้วยความก้าวล้ำหน้าในการยกคุณภาพชีวิตและพัฒนาเทคโนโลยี รวมไปถึงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และ ชิปปิ้ง ที่เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย ด้วยคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการของประเทศจีน ได้สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับการ ชิปปิ้ง ออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวบรวมร้านค้าชั้นนำจากจีนเอาไว้ที่ Taobao และ Tmall รวบรวมสินค้าเอาไว้หลากหลายหมวดหมู่ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของนัก ชิปปิ้งออนไลน์ สินค้ามีคุณภาพ ราคาย่อมเยา รวมทั้งบริการการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค
ทาง Thaitopcargo เองก็เป็นหนึ่งในเรื่องโลจิสติกส์เช่นกัน ด้วยมาตรฐานและการให้บริการในการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้าทางรถหรือทางเรือ ให้การนำส่งสินค้าจากประเทศจีนถึงมือของคุณได้อย่างปลอดภัย