ชิปปิ้ง 4 วิธีขนส่งทางเรือแบบไม่มีตู้คอนเทนเนอร์

ชิปปิ้ง 4 วิธีขนส่งแบบไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ Thaitopcargo ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 4 วิธีขนส่งทางเรือแบบไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ 4                                                                                                        Thaitopcargo 768x402

ชิปปิ้ง หรือการนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ (ตู้สินค้า) เนื่องจากเป็นการขนส่งแบบ Door to Door หรือจากโรงงานของผู้ผลิตส่งตรงถึงมือลูกค้าโดยตรง ซึ่งมีความสะดวกสูง ช่วยลดระยะเวลาของเรือที่จอดอยู่ตามท่า และระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการขนส่ง

เนื่องจากปัญหาสำคัญของการขนส่งทางทะเลคือ เรือใช้เวลาส่วนใหญ่ในท่าเรือ ทำให้เจ้าของเรือเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง และสินค้าไปถึงมือลูกค้าใช้เวลานานกว่าการขนส่งแบบอื่น  

อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยตู้สินค้านั้น เป็นการขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งต้องอาศัยท่าเรือที่ใช้เทคโนโลยีในการขนถ่ายตู้สินค้าเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขนส่งทางเรืออีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าการขนส่งด้วยเรือลำเลียง ซึ่งเป็นการขนส่งแบบไม่มีตู้สินค้า สามารถรองรับการชิปปิ้งสินค้าได้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

ข้อดีของการขนส่งด้วยเรือลำเลียงนั้น มีราคาประหยัดกว่าเพราะเป็นการขนส่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือน้อยมาก แต่สามารถบรรทุกและขนถ่ายสินค้าได้ในปริมาณมาก ปัจจุบันจึงเป็นรูปแบบของการชิปปิ้งทางทะเลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน และต่อไปนี้คือประเภทของเรือขนส่งที่ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์

1. เรือขนส่งบรรทุกสินค้าทั่วไป (General Cargo Ship)

เป็นเรือที่บรรทุกสินค้าได้หลายชนิดรวมกัน ซึ่งมีระวางบรรทุกสินค้าที่เป็นพื้นที่โล่งหรือบนดาดฟ้าเรือ อาจแบ่งเป็นส่วนๆ และออกแบบให้มีลักษณะเป็นชั้นๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจัดวางสินค้าให้มากขึ้น เรือประเภทนี้มักมีฝาระวางบนดาดฟ้าเรือและระวางชั้น เพื่อการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงเรือได้อย่างสะดวก

2. เรือลำเลียงบรรทุกรถยนต์ (Ro-Ro)

Ro-Ro ย่อมาจาก Roll-on Roll-off เป็นเรือที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าประเภทที่มี ‘ล้อ’ เช่น ยานพาหนะ และเครื่องจักร ฯลฯ โดยเรือประเภทนี้จะมีทางลาดที่ติดตั้งมากับเรือ ซึ่งปกติแล้วทางลาดเหล่านี้จะติดตั้งอยู่ด้านท้ายหรือด้านหลังของเรือ แต่ในเรือบางลำอาจมีการติดตั้งทางลาดบริเวณหัวเรือหรือด้านหน้าและด้านข้างเรือ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เรือ Ro-Ro นั้น จึงนิยมใช้ขนส่งสินค้าที่มีความต้องการอย่างเร่งด่วน และเป็นการขนส่งระยะสั้นๆ หรือไม่เกิน 300 ไมล์ทะเล ประเทศที่นิยมใช้การขนส่งด้วยเรือดังกล่าว คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี 

3. เรือสินค้าเดินสมุทร (Break-Bulk)

เป็นเรือขนส่งสินค้าทั่วไป ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้ขนส่งสินค้าที่เป็นหีบห่อหรือสินค้าที่เป็นชิ้นๆ มีน้ำหนัก และขนาดใหญ่มาก เช่น เหล็ก รถยนต์ โดยจะต้องมีการโหลดสินค้าแบบชิ้นต่อชิ้น ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ได้

4. เรือสินค้าเทกอง (Bulk Shipping)

เรือขนส่งประเภทนี้ มักเป็นเรือชั้นเดียว  (ดาดฟ้า) ที่มีขนาดใหญ่มาก สามารถใช้บรรทุกได้ทั้งสินค้าเทกองแห้งและสินค้าเทกองเหลว เช่น เมล็ดพืช ถ่านหิน โดยสินค้าจะถูกวางหรือเทกองในห้องระวางสินค้าจนเต็ม การขนส่งด้วยเรือประเภทนี้ นิยมขนส่งคราวละมากๆ และเป็นสินค้าที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องความเสียหาย ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศนั้น เป็นการขนส่งที่ใช้เวลานานกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการให้สินค้ามาถึงมืออย่างรวดเร็ว ดังนั้น อาจเลือกรูปแบบการขนส่งทางรถแทน เนื่องจากใช้ระยะเวลาสั้นกว่า เช่น ขนส่งจากจีนมาไทยทางรถ จะใช้ระยะเวลาโดยประมาณ 3-5 วันเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 ข้อดีของการนำเข้าสินค้าจากจีน)