ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์มัดใจลูกค้า เพิ่มความภักดีต่อผลิตภัณฑ์

ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์มัดใจลูกค้า ภักดีต่อผลิตภัณฑ์ ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์มัดใจลูกค้า เพิ่มความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ 7             768x402

โดยปกติแล้ว ลูกค้าที่มี Brand Royalty กับผลิตภัณฑ์ จะทำให้ธุรกิจมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะความสัมพันธ์ที่ดีช่วยโน้มน้าวใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการอีกครั้ง Thaitopcargo ผู้ให้บริการด้านชิปปิ้งชั้นนำของเมืองไทย จึงรวมเอา 7 กลยุทธ์มัดใจลูกค้าไม่ให้หนีหายไปจากธุรกิจของคุณ  

โดยเฉพาะธุรกิจชิปปิ้ง ซึ่งเป็นธุรกิจการขนส่งที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าราคาสูงและมีจำนวนมาก ความไว้วางใจและคุณภาพในการให้บริการของธุรกิจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

1.ให้บริการลูกค้าเป็นอันดับ 1

โดยส่วนใหญ่ ลูกค้าเชื่อว่าการให้บริการลูกค้าของบริษัท จะสะท้อนให้เห็นถึงบริษัทนั้นๆ ว่าให้คุณค่าต่อลูกค้าอย่างไร ซึ่งหากคุณต้องการให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างความประทับใจให้กับพวกเขาตั้งแต่การให้บริการในครั้งแรก

2.ให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทนลูกค้าในโอกาสต่างๆ

หนึ่งในวิธีที่ดีสุดของการรักษาจำนวนลูกค้าหน้าเก่าให้ย้อนกลับมาใช้บริการกับบริษัทอีกก็คือ การให้ส่วนลด ของขวัญ และข้อเสนอพิเศษในโอกาสต่างๆ โดยผลจากวิจัยแสดงให้เห็นว่า 76% ของผู้หญิงและ 72% ของผู้ชาย มีแนวโน้มที่จะใช้บริการกับธุรกิจของคุณอีกเมื่อได้ข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้ เนื่องจากพวกเขาจะรู้สึกประทับใจและรู้สึกเป็นคนพิเศษ หลังจากนั้นเขาจะเลือกใช้บริการกับคุณอีกในคราวต่อไป แม้ว่าจะมีแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ ให้เปรียบเทียบกัน

3.รับฟังคำแนะนำด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง

เคยเป็นไหม เมื่อแม่อยากให้คำแนะนำกับลูกสาววัยรุ่น คุณกรอกตาบน เกิดอาการต่อต้านและพูดพึมพำว่า “แม่จะเข้าใจอะไรในสิ่งที่หนูพูด” บางครั้งการทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ปฏิกิริยาตอบกลับจากลูกค้าก็เป็นเหมือนกับเด็กวัยรุ่น ทว่า หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณจะต้องมีความอดทนและฝึกรับมือกับฟีดแบ็กต่างๆ จากลูกค้าได้อย่างใจเย็น Kendra Scott นักธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นดีไซเนอร์ เจ้าของธุรกิจจำหน่ายเครื่องประดับชื่อดังระดับโลก ตอบกลับลูกค้าทุกคน โดยการส่งอีเมล์แสดงความขอบคุณถึงคำติชม ซึ่งเป็นไอเดียที่ดีเลิศ และแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าพวกเขาเป็นคนสำคัญ และทางร้านไม่ได้แค่อ่านคอมเม้นท์เท่านั้น แต่ตอบกลับอย่างตั้งใจอีกด้วย

4.ให้ข้อเสนอเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า

หากสินค้าและผลิตภัณฑ์ของคุณ ทำให้ชีวิตลูกค้าง่ายขึ้น ก็มีแนวโน้มสูงมากที่พวกเขาจะกลับมาใช้บริการกับคุณอีก ดังนั้น เจ้าของธุรกิจควรจะสร้างประสบการณ์การใช้บริการที่ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็วและทำให้ชีวิตลูกค้าง่ายขึ้น เช่น การให้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ Call Center (ปรึกษาเรื่องการติดตั้งระบบโทรศัพท์ Call Center หรือระบบโทรศัพท์บน Cloud ได้ที่ Yalecom) หรือมีแอดมินทำหน้าที่ตอบคำถามหรือข้อสงสัยในช่องทาง Social Media ดีกว่าเป็นระบบอัตโนมัติ

5.สื่อสารอย่างอ่อนโยน นอบน้อม มีมารยาทที่ดี

เพราะวาจาเปรียบเสมือนดาบสองคม ใช้สร้างมิตรก็ได้หรือทำให้กลายเป็นศัตรูก็ยังได้ ซึ่งการทำธุรกิจ ไม่ใช่แค่การบริหารงานเก่งเพียงอย่างเดียว แต่คุณต้องรู้จักพูดให้เป็น คำพูดที่อ่อนหวาน น้ำเสียงนุ่มนวล บวกกับรอยยิ้มที่จริงใจ ย่อมสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากกว่าวาจาที่ก้าวร้าวดุดัน อย่างไรก็ตาม การสื่อสารทางโทรศัพท์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก นอกเหนือไปจากเรื่องของมารยาทและน้ำเสียงในการให้บริการแล้ว ยังรวมไปถึงประสิทธิภาพของระบบโทรศัพท์ที่ใช้เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกันระหว่างองค์กรกับลูกค้า ซึ่งควรจะมีความราบรื่นในเรื่องของสัญญานที่เสถียร เสียงคมชัด ไม่ติดขัดหรือสะดุดในขณะสนทนา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ นำเข้าสินค้าจากจีนกับประสิทธิภาพโทรศัพท์สำคัญกันอย่างไร

6.พัฒนาเรื่องบริการอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์คู่แข่งและตามให้ทัน โดยเฉพาะธุรกิจชิปปิ้ง

การทำธุรกิจจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอยู่ตลอดเวลา คุณต้องตามให้ทันว่าคู่แข่งกำลังทำอะไร โลกก้าวไปถึงไหน กระแสตอนนี้เป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การให้บริการที่ดี มีประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเป็นมืออาชีพและประทับใจเมื่อได้ใช้บริการกับผลิตภัณฑ์ของคุณ

7.อย่าเพิ่งขอบริจาคเงินเพื่อทำ CSR หรือการกุศลต่างๆ

เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อคุณทำธุรกิจ การขายสินค้าหรือบริการเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องชำระเงินอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณต้องการให้ลูกค้าที่มีจิตกุศล ช่วยบริจาคเงินทำโครงการ CSR หรือกิจกรรมการกุศลต่างๆ ของบริษัท การแจ้งขอความอนุเคราะห์เงินสนับสนุนอาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อลูกค้า คล้ายการร้องขอแกมบังคับ ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าเลิกใช้บริการกับธุรกิจของคุณได้ เพราะฉะนั้น คุณอาจสื่อสารกับลูกค้าทางอ้อม โดยการเขียนบทความประชาสัมพันธ์ในวารสารขององค์กรหรือในบล็อก เพื่อให้ข้อมูลว่าบริษัทของคุณสนับสนุนโครงการหรือองค์กรการกุศลอะไรบ้าง เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจที่จะช่วยเหลือโดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าถูกกดดัน