ชิปปิ้ง

ชิปปิ้งอย่างไร ให้สบายกระเป๋า

ชิปปิ้งอย่างไร ให้สบายกระเป๋า สาวกนักช็อปของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นนักช้อปมือใหม่ นักช้อปมืออาชีพ ตลอดจนเหล่าพ่อค้าและแม่ค้าสินค้าออนไลน์ คงไม่วายต้องเจอกับความวิตก ระหว่างการชิปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นสภาพของ ขนาดไซต์สินค้า หรือแม้กระทั่งการเสียภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้หลายเว็บไซต์ที่ขายสินค้าออนไลน์ ในตอนนี้นี้พุ่งกระฉูดแตกเป็นดอกเห็ดมีให้เลือกกันอย่างแพร่หลาย ยิ่งอดไม่ได้ที่เหล่านักช้อบต้องหวาดหวั่น เวลาจะจัดส่งสินค้า ต้องเสี่ยงเจอการสุ่มตรวจภาษีจากศุลกากร วันนี้จุงอยากแนะทริคเล็กๆ เกี่ยวกับการสั่งของเพื่อสบายกระเป๋าและปลอดภัยในการสั่งสินค้าจากจีน ให้ปลอดภัย ถูกกฎหมายด้วย   1. คำนวณ Vat 10 % คร่าว ๆ หัวใจหลักของการชิปิ้งของคือต้องคำนวณปริมาณภาษีไว้คร่าวๆ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับสินค้าเวลานำเข้าสินค้ามาด้วย เพื่อลดต้นทุนและคำนวณความเสี่ยงของการเสียภาษีว่าคุ้มทุนกับที่เราต้องการซื้อหรือไม่ โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้านักชิปปิ้งทั้งหลายต้องคำนวณจุดคุ้มทุนให้ดี ยิ่งตอนนี้มีการเพิ่มภาษีนำเข้าจาก 7 เปอร์เซ็น เป็น 10 เปอร์เซ็นด้วยแล้ว ยิ่งมีโอกาสความคุ้มค่าของการสั่งสินค้ายิ่งน่าวิตกเข้าไปใหญ่ *************************************************************************** ซึ่งหากลองคำนวณการจ่ายภาษีชิปปิ้งสินค้าด้วย vat 10 % จะออกมาได้อย่างนี้   ถ้าซื้อกระเป๋าเดินทางราคา 2,000 บาท รวมค่าขนส่งอีก 500 บาท รวมเป็นเงินราว 2500 …

ชิปปิ้งอย่างไร ให้สบายกระเป๋า Read More »

ชิปปิ้ง กับเรื่องต้องรู้ก่อนทำการค้าระหว่างประเทศ

ในยุคสมัยไร้พรมแดนแบบนี้ ผู้ประกอบการหลายเจ้าเล็งเห็นถึงการขยับขยายการค้าออกไปต่างประเทศ นอกจากจะต้องรู้จักการใช้บริการชิปปิ้งแล้ว สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า หรือIncoterms (International Commercial Terms) ซึ่งเป็นข้อกําหนดมาตรฐานสากลที่ใช้ในการตกลงทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน สำหรับ Incoterms ที่ใช้กันบ่อยๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรรู้จัก ได้แก่ 1.EXW (Ex Works) คือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าจะสิ้นสุดที่สถานที่ของผู้ขาย เช่น เราเป็นผู้ซื้อ สั่งซื้อของจากจีน ผู้ขายในจีนจะรับผิดชอบขนส่งสินค้าถึงแค่โกดังเก็บของในจีนเท่านั้น ค่าขนส่งข้ามประเทศต่างๆผู้ซื้ออย่างเราต้องเป็นคนจัดการเอง ทั้งพิธีศุลกากรนำเข้าและส่งออก รวมถึงภาษีผู้ซื้อจะจัดการเอง 2.FOB (Free on Board) คือ เงื่อนไขที่ผู้ขายรับผิดชอบส่งมอบสินค้าถึงท่าเรือต้นทาง นั่นก็คือผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการศุลกากรขาออกด้วย ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระในการทำสัญญาการขนส่งและจ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) รวมถึงรับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง) ซึ่งผู้ซื้อควรทำประกันภัยในการขนส่ง 3.CIF (Cost, Insurance&Freight) คือ เงื่อนไขที่ผู้ขายรับผิดชอบรับมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางบนเรือขนส่งประเทศ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีศุลกากรขาออกและทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง อีกทั้งค่าประกันภัยสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อ 4.DDP (Delivered Duty Paid หรือ Door to Door) คือ …

ชิปปิ้ง กับเรื่องต้องรู้ก่อนทำการค้าระหว่างประเทศ Read More »

ชิปปิ้งกับFreight Forwarder ต่างกันอย่างไร

หลายคนรู้จักแล้วว่า ชิปปิ้ง นั้นคือบริษัทขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก Freight Forwarder ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการขนส่งเช่นกัน และต่างจาก shipping อย่างไร ไปดูกันค่ะ Freight Forwarder คือ (ตัวแทนของผู้ส่งสินค้า) หมายถึง เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เหมือน shipping ทุกประการ เพียงแต่ ไม่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง และตู้คอนเนอร์ก็ไปเช่ามา เพื่อหาลูกค้ารายเล็กหลายรายมารวมกันเพื่อให้ได้ในหนึ่งตู้ ค่าใช้จ่ายของลูกค้ารายเล็กจึงสูงกว่า shipping แต่ shipping ก็เลือกทำแต่ลูกค้ารายใหญ่ แต่หลายคนคิดว่า Freight Forwarder คือ Shipping จริงๆสองสิ่งนี้มีความคล้ายกันอยู่แต่ก็ไม่ได้ต่างไปซะทีเดียว Freight Forwarder นอกจากจะจัดการขนส่งสินค้าแล้วก็จัดการด้านใบขนส่งสินค้าให้กับด่านศุลกากรซึ่งตรงนี้ shipping ก็เป็นผู้จัดการด้วยเช่นกัน Shipping (ชิปปิ้ง)หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเล หรือ บริษัทขนส่งทางเครื่องบินเพื่อนำสินค้านำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้านำไปเข้าตู้คอนเทนเนอร์เก็บสินค้าและรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ ไปถึงท่าเรือ นั่นก็คือ shipping คือบริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีหน้าติดต่อกับผู้ส่งออกว่ามีปริมาณสินค้าปริมาณเท่าไร จะเช่าเป็นตู้ หรือจะรวมกับสินค้าผู้ส่งออกรายอื่นในตู้ใดตู้หนึ่ง เห็นความแตกต่างของ shipping และ Freight …

ชิปปิ้งกับFreight Forwarder ต่างกันอย่างไร Read More »

ชิปปิ้ง กับความรู้เกี่ยวกับประเภทขนส่ง

หลายคนอาจจะเคยทราบมาแล้วนะคะว่า ชิปปิ้งนั้น มีช่องทางการขนส่งหลักๆอยู่สามช่องทาง ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ วันนี้เราจะบอกช่องทางการขนส่งให้แยกย่อยไปอีก จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ 1.การขนส่งทางน้ำ การขนส่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ขนส่งผ่านแม่น้ำลำคลองและมหาสมุทร นิยมขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ขนได้ปริมาณมาก เป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ เครื่องจักร 2.การขนส่งทางบก แบ่งเป็น 2 ประเภท รถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงสินค้าที่สำคัญของไทย สามารถขนส่งสินค้าในปริมาณมาก อีกประเภทหนึ่งคือ รถไฟเฉพาะกิจ  ใช้เฉพาะงาน เช่น บรรทุกน้ำมัน บรรทุกซีเมนต์ รถยนต์หรือรถบรรทุก นับเป็นการขนส่งที่สำคัญของการขนส่งทางบก มีการขยายถนนเส้นทางในการขนส่ง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม 3.การขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งผ่านเครื่องบินนั่นเอง เป็นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด หมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น 4.การขนส่งทางท่อ เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ …

ชิปปิ้ง กับความรู้เกี่ยวกับประเภทขนส่ง Read More »

ชิปปิ้งกับการนำเข้ายังไงไม่ให้มีใต้โต๊ะ

ในการทำธุรกิจด้านการนำเข้าส่งออก ผู้ประกอบการอาจเจอปัญหาการเก็บค่าใช้จ่ายหรือเรียกว่าเงินใต้โต๊ะ หลายคนเลือกที่จะจ่ายเพื่อจบปัญหาไป แต่ถ้าหากเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็อาจทำให้เราขาดทุน คนที่ได้ก็จะเป็นพวกชิปปิ้งมือปืนเหล่านี้แหละค่ะ เราจะแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างไปดูกันค่ะ 1.นำเข้าสินค้าถูกกฎหมาย หากเรานำเข้าแต่สินค้าที่ถูกกฎหมาย ก็จะไม่มีเงื่อนไขในการจ่ายเงินใต้โต๊ะได้ หลายคนเลือกที่จะสั่งซื้อสินค้าผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์เพราะขายง่ายแต่ะก็ต้องจ่ายค่าอะไรๆมากพอสมควรนะคะ 2.ทำความเข้าใจสินค้า ต้องเข้าใจว่าสินค้าเราเป็นอะไร ใช้อย่างไร เพื่ออะไร เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับทาง shipping เพื่อเจรจาเรื่องพิกัดภาษีจะได้ไม่โดนปรับ 3.หารือกับกรมศุลกากร หากเจรจากับชิปปิ้งไม่เข้าใจหรือว่ามั่นใจว่าพิกัดภาษีของเรานั้นถูกต้อง สามารถยื่นตรวจสอบกับทางศุลกากร แต่ต้องเผื่อเวลาและตามเรื่องหรือเอกสารกับทางศุลกากร 4.เตรียมเอกสารให้พร้อม ถึงแม้ว่าเราจะใช้บริการชิปปิ้งแต่เราก็ต้องเตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อมเช่นกัน เพราะ shipping ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาอาจจะช่วยเราไม่ได้ (อ่านเอกสาร shipping ที่นี่) 5.เลือก shipping ที่เชื่อถือได้ การเลือก shipping ก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกที่ไว้ใจได้ shipping มืออาชีพจะแจ้งค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราต้องจ่ายอย่างชัดเจน สามารถตรวจเช็คได้ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราป้องกันการเกิดเหตุการณ์จ่ายเงินใต้โต๊ะ ซึ่งเป็นวงจรอุบาทวร์และยังทำให้เราเสียเงินมากอีกด้วย ยังไงก็ต้องระวังกันด้วยนะคะ อ่านบทความอื่นๆได้ ที่นี่

วิวัฒนาการการขนส่ง (ชิปปิ้ง)

เรารู้จักกับการนำเข้าส่งออก หรือ ชิปปิ้ง กันมาบ้างแล้วนะคะว่าเป็นการขนส่งซึ่งมีอยู่ 3 ช่องทาง นั่นก็คือ ทางบกหรือทางรถ ทางน้ำหรือทางเรือ ทางอากาศหรือทางเครื่องบิน แต่ในอดีตนั้นการขนส่งสินค้าหรือชิปปิ้งทำได้อย่างไร มีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ ::ทางบก :: การขนส่งทางบกเป็นการขนส่งแรกเริ่มเลย ในสมัยโบราณขนส่งด้วยการเดินเท้า!! จากนั้นจึงเริ่มมีการฝึกฝนสัตว์ให้ขนของ โดยสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้ฝึกขนส่ง คือ ม้า อูฐและมีเกวียนขนสินค้า จนพัฒนามาเป็นรถม้า ในสมัยก่อนมักจะใช้ขนเพื่อการทหารและค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า จนการกระจายสินค้าขยายตัวในยุคโรมันเมื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างกรุงโรมกับเมืองต่างๆ ต่อมาในราชวงศ์ฮั่นของจีนก็ได้ทำการเปิดเส้นทางสายไหมเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ทำให้การขนส่งสินค้าเฟื่องฟูมาก ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาจนมีรถไฟหัวจักรไอน้ำ จึงมีการขนส่งกันผ่านรถไฟนั่นเอง ยุโรปและอเมริกาเริ่มสร้างทางรถไฟเชื่อมกันในศตวรรษที่ 18 ทำให้การขนส่งสื่อสารขยายตัวกว้างออกไปอีกเกิดการสร้างทางรถไฟข้ามทวีป ไปทวีปต่างๆไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา จนกระทั่งพัฒนาให้มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นและยังมีการพัฒนารถไฟไปถึงปัจจุบัน ส่วนการขนส่งโดยรถยนต เริ่มคิดค้นและสำเร็จ เมื่อปี 1892 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ::ทางน้ำ :: การขนส่งทางน้ำไม่ระบุแน่ชัดว่าชนชาติใด คาดว่าเป็นชนชาติที่เจริญแล้วและอยู่ใกล้แม่น้ำ จนมาถึงยุคที่จีนใช้เรือสำเภาในการขนส่งสินค้าเป็นยุคบุกเบิกของจีนมาก เพราะมีการเดินเรือสำเภาจีนข้ามทวีปไปประเทศต่างๆ ต่อมาระบบการเดินเรือพัฒนามากขึ้น ชาวอาหรับเป็นนักเดินเรือสินค้าที่สำคัญในแถบอาหรับในทะเลแดง แต่หลังจากนั้นเป็นพวกยุโรปกลายเป็นจ้าวแห่งอาณานิคมทางทะเล จนอังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคมเพื่อสร้างกองทัพเรือและแลกเปลี่ยนสินค้า ปัจจุบัน เรือเป็นส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ (Shipping) ถึงแม้ว่าผู้คนจะหันไปใช้บริการทางอากาศแทนมากกว่าในการเดินทางท่องเที่ยวข้ามประเทศ …

วิวัฒนาการการขนส่ง (ชิปปิ้ง) Read More »

ขั้นตอนพื้นฐานการส่งออก (ชิปปิ้ง)

พูดถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าก็คงจะนึกถึงผู้ให้บริการขนส่งหรือชิปปิ้งใช่มั้ยคะ แล้วใครก็ตามที่คิดริเริ่มจะทำธุรกิจชิปปิ้ง แต่ไม่รู้ว่าต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง วันนี้ thaitopcargo จะมาแนะนำขั้นตอนพื้นฐานในการทำธุรกิจส่งออกมาฝากกันค่ะ เอกสารการส่งออก ในการทำธุรกิจด้านการขนส่งจะเกี่ยวข้องกับกรมศุลกากรโดยตรง ฉะนั้น จะต้องมีการจัดการเรื่องเอกสารต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเราจะต้องจัดเตรียมให้พร้อม (สามารถอ่านบทความ เอกสารที่ shipping จีนต้องรู้) ทำการตลาด มองหาตลาดที่สินค้าเราตอบโจทย์ที่สุด อาจเริ่มจากคนรู้จักหรือเพื่อนสนิทและต้องมีศักยภาพและประสิทธิภาพเป็นอย่างดี อีกอย่าง คือ การทำตลาดกับนายหน้าที่เป็นสมาชิกของกรมการส่งเสริมการส่งออก โดยให้นายหน้าเป็นคนดำเนินการ และอีกทางคือการตลาดทางอินเทอร์เน็ต การตกลงซื้อขายระหว่างประเทศ การที่จะส่งสินค้าได้นั้น จะต้องเกิดจากการที่มีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ โดยผู้ซื้อหรือนำเข้าและผู้ขายหรือผู้ส่งออก ซึ่งอยู่คนละประเทศจะต้องตกลงซื้อขายสินค้าตามที่ได้ตกลงไว้ สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือเรื่องสัญญาซื้อขาย ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานร่วมกันเพื่อป้องกันการบิดพลิ้ว หรือสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น อีกทั้งเป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อการส่งออกด้วย การเตรียมสินค้า เมื่อทำการซื้อสินค้ามาแล้ว ผู้ส่งออกจะต้องเตรียมสินค้าให้พร้อมกับการส่งออกก่อนกำหนดส่งสินค้า ทำการทดสอบคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้เรียบร้อย การขนส่งสินค้า ควรตรวจสอบการขนส่งสินค้าก่อนว่ามีตารางเดินเรือหรือเที่ยวบินในช่วงที่ต้องการส่งสินค้าหรือไม่ และควรจองรถบรรทุกสำหรับบรรทุกสินค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกแก่ผู้ทำการขนส่งในการจัดเตรียมสินค้าบรรทุกในเที่ยวที่ต้องการได้ถูกต้อง ครบถ้วน ต่อมาจัดทำใบกำกับสินค้าหรือบัญชีราคาสินค้า เพราะต้องนำไปใช้ทั้งก่อนและหลังการส่งออก shipping แน่นอนว่าธุรกิจการนำเข้าและส่งออกจะต้องเกี่ยวกับshipping เพราะจะช่วยในเรื่องการจัดการขนส่งและดำเนินงานพิธีการศุลกากรทั้งหมด มีหลายบริษัทให้เลือกใช้บริการ ฉะนั้น เราสามารถตรวจเช็คและใช้บริการบริษัทที่เชื่อถือ ไว้ใจได้ ในการทำธุรกิจชิปปิ้งนั้น มีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนเยอะ ผู้ประกอบการจะต้องมีการตรวจเช็คทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ และหากมองหาชิปปิ้งดีๆ thaitopcargo …

ขั้นตอนพื้นฐานการส่งออก (ชิปปิ้ง) Read More »

ชิปปิ้งกับภาษีนำเข้าและส่งออก

ในการทำธุรกิจ ชิปปิ้ง นั้น สิ่งที่สำคัญนอกจากข้อมูลด้านเอกสาร ภาษีอากรทั้งนำเข้าและส่งออกก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษานะคะ เพราะการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกนั้นเกี่ยวข้องกับศุลกากรและการชำระภาษีโดยตรง วันนี้ thaitopcargo มาแนะนำเกี่ยวกับภาษีการนำเข้ากันค่ะ สินค้าลักษณะอย่างไร ที่ต้องเสียภาษี สำหรับของที่มีปริมาณที่มากกว่าที่จะใช้สำหรับติดตัว ซึ่งนำเข้ามาแล้วมีมูลค่ารวมกันทั้งหมดเกิน 10,000 บาท รวมไปถึงสิ่งของที่นำเข้ามาเพื่อการค้า หรือมีลักษณะทางการค้า ของลอกเลียนแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม สัตว์ป่าสงวน การฝ่าฝืน ของที่นำติดตัวมามีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 80,000 บาท ต้องทำเอกสารปฏิบัติพิธีการศุลกากร กระเป๋าแบรนด์เนมที่มีราคาเกิน 10,000 บาท เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องเสียภาษี ของต้องจำกัด คือของบางชนิดที่กฎหมายควบคุมการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การนำเข้าและการส่งออกของต้องจำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องนำมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วย พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ โดยกรมศิลปากร อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พืช และส่วนต่างๆ ของพืช โดยกรมวิชาการเกษตร สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อาหาร ยา โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชิ้นส่วนยานพาหนะ …

ชิปปิ้งกับภาษีนำเข้าและส่งออก Read More »

เคล็ดลับการทำธุรกิจชิปปิ้ง

การธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าหรือที่เรียกว่าธุรกิจชิปปิ้ง นับว่าเป็นจุดสูงสุดของนักธุรกิจแล้วล่ะค่ะ เพราะการติดต่อกับต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนและปัญหาหลายๆอย่าง และในการจะเริ่มทำธุรกิจชิปปิ้งนี้ เราควรที่จะเริ่มต้นอย่างไรไม่ให้พลาด ไปดูเคล็ดลับการทำธุรกิจนี้กันค่ะ อย่างแรกเลยนะคะ เมื่อเริ่มต้นที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ คุณจะต้องจัดตั้งผู้บริหารจัดการในเรื่องนี้โดยเฉพาะ นั่นเป็นเพราะว่าในการทำธุรกิจด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศเหมือนเป็นการเริ่มทำธุรกิจใหม่ทั้งหมด เพราะเราไม่สามารถนำระบบการบริหารในไทยมาใช้ได้ทั้งหมด มีข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยอยู่มาก ฉะนั้น ผู้ที่จะมาบริหารจัดการจะต้องมีความรู้ ความสามารถพอสมควร จัดการบริหารทั้งในไทยและประสานงานในต่างประเทศได้ เข้าใจระบบการทำงานของต่างประเทศด้วย ศึกษาและตรวจสอบโอกาสทางการตลาดก่อนว่าประเทศนั้นๆมีแนวโน้มที่จะทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากจุดเด่น จุดด้อย ราคา การตลาด สินค้า การวางแผนธุรกิจ คู่แข่ง ช่องทางการขนส่ง อย่างที่ทราบกันว่าช่องทางการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมี 3 ช่องทาง (อ่านช่องทางการขนส่งที่นี่) ผู้ประกอบการอาจเลือกใช้วิธีการร่วมทุนกับบริษัทที่มีสัญชาติของประเทศดังกล่าวก็ได้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องต้นทุน แถมยังได้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นร่วมงานด้วย ซึ่งจะมีความได้เปรียบในการทำธุรกิจข้ามประเทศค่อนข้างมาก ทุกประเทศในโลกล้วนมีกำแพงภาษีเพื่อเป็นการป้องกันการทะลักของสินค้าจากต่างประเทศด้วยกันแทบทั้งสิ้น เงินหมุนเวียนเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจนี้นะคะ ต้องเตรียมพร้อมสภาพทางการเงินให้เรียบร้อยก่อน มีเงินสำรองยามฉุกเฉิน เพราะหากเกิดปัญหาเราไม่สามารถกู้จากธนาคารในต่างประเทศได้เลย ในการทำธุรกิจการนำเข้าและส่งสินค้ากับต่างประเทศนั้นย่อมมีความยุ่งยากกว่าการทำธุรกิจในประเทศนะคะ ฉะนั้น หากต้องการที่จะทำธุรกิจชิปปิ้งต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งข้อมูล เงิน และบุคลากรให้พรัอมนะคะ รวมไปถึงสินค้าที่ต้องตรวจสอบว่าสามารถขนส่งได้หรือไม่ (อ่านสินค้าต้องห้ามได้ ที่นี่)

ชิปปิ้งที่ดี ควรมีสิ่งเหล่านี้ให้ครบ

ชิปปิ้งที่ดี ควรมีสิ่งเหล่านี้ให้ครบ ใครที่คิดกำลังจะทำบริษัทเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศหรือเรียกง่ายๆว่า บริษัท shipping ล่ะก็ ต้องอ่านเลยล่ะค่ะ เพราะว่าบทความนี้จะพูดถึงคุณสมบัติที่ shipping ของคุณควรที่จะมี เกริ่นกันก่อนว่า shipping นั้นคืออะไร shipping คือบริษัทคนกลางที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการทำพิธีการศุลกากร ชำระภาษีและจัดการขนส่งสินค้า ซึ่งคุณสมบัติที่ shipping ควรมี ดังนี้ มีที่อยู่แน่นอน บริษัท shipping ที่ดีและไว้ใจได้จะต้องมีที่อยู่ชัดเจน แน่นอน ถูกกฎหมาย และสังเกตบริษัท มือใหม่ควรคำนึงข้อนี้ไว้นะคะ ติดต่อสอบถามได้ง่าย สามารถติดต่อสอบถามได้ง่าย สะดวกสบายเรียกได้ว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการนำเข้า ต้องให้บริการกับลูกค้าได้เสมอ ติดต่อสอบถามได้ ไม่หายไปหรือไม่ตอบเมื่อเกิดปัญหาและข้อสงสัย เข้าใจพิกัดภาษีของสินค้าที่จะนำเข้าและส่งออก Shipping ต้องเข้าใจพิกัดภาษีแต่ละสินค้า เพราะแต่ละตัวอาจจะมีภาษีที่แตกต่างกัน การส่งออกอาจจะง่ายเพียงแค่ไม่ผิดกฎหมาย แต่การนำเข้าเราต้องตรวจสอบให้ดี เข้าใจพิกัดภาษีแต่ละตัว มิเช่นนั้นอาจจะโดนปรับได้นะคะ เข้าใจข้อยกเว้นและประโยชน์ทางภาษีของสินค้านำเข้าและส่งออก ในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศนั้น จะมีข้อยกเว้นที่แตกต่างกัน เราต้องศึกษาส่วนนี้ให้ดีๆ หากเป็นบริเวณอาเซียน ภาษีเป็น 0% แต่ถ้าหากมาจากยุโรปก็อาจจะไม่ได้รับยกเว้น ต้องไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ Shipping ที่ดีจะมีค่าใช้จ่ายตามจริง ถูกกฎหมาย จะไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเข้ามา …

ชิปปิ้งที่ดี ควรมีสิ่งเหล่านี้ให้ครบ Read More »