Month: September 2018

สั่งสินค้าจากจีนมาสร้างรายได้เสริมให้กระเป๋าตุงกันเถอะ

ในยุคสมัยนี้ เศรษฐกิจยังไม่อู้ฟู่ซักเท่าไหร่ การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เพียงพอจึงรายได้เสริมจากช่องทางอื่น หนึ่งในนั้นที่เราจะแนะนำคือการสั่งสินค้าจากจีนมาขายในไทยนั่นเองค่ะ เพราะอะไรถึงต้องขายสินค้าจากจีน?? 1.แน่นอนว่าราคาจะถูกกว่า สินค้าหลายๆประเภทที่ขายในจีนมีต้นทุนต่ำกว่าในไทยมาก จึงเป็นที่นิยมของนักช้อปมาก เมื่อเราขายราคาที่ถูกแน่นอนว่าลูกค้าก็ต้องสนใจ 2.คุณภาพของสินค้าดี ในเรื่องของคุณภาพของสินค้านับว่ามีคุณภาพดี เป็นที่น่าพอใจ แต่ตรงนี้เราก็ต้องตรวจสอบร้านค้าให้ดีด้วยว่าร้านไหนที่ไว้ใจได้บ้าง (อ่านบทความวิธีเลือกร้านค้าในเว็บจีน ที่นี่) 3.สินค้ามีการอัพเดตทุกวัน สำหรับสินค้ายอดนิยมที่นักช้อปจะช้อปเป็นอันดับต้นๆคือสินค้าแฟชั่น ถ้าหากต้องการนำสินค้าแฟชั่นเข้ามาขาย สินค้าจากจีนนับว่าตอบโจทย์เพราะแต่ละร้านมีการอัพเดตเทรนด์และแฟชั่นทุกวัน 4.ระบบออนไลน์ช่วยให้เข้าถึงลูกค้า ในยุคสมัยโลกไร้พรมแดนทำให้การซื้อขายง่ายขึ้นมาก ทั้งเราเลือกสินค้าจากเว็บไซต์ก็ง่าย เราขายสินค้าลงช่องทางออนไลน์ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่ายอีกด้วย ช่วยทำให้เราปิดการขายได้เยอะและเร็ว นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อดีที่เราจะเลือกสินค้าจากจีนมาขายในไทย ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกสินค้าตามกลุ่มเป้าหมายของเราหรือการศึกษาตลาดก่อนที่จะขายนะคะ อ่านบทความอื่นๆที่นี่

ชิปปิ้ง กับเรื่องต้องรู้ก่อนทำการค้าระหว่างประเทศ

ในยุคสมัยไร้พรมแดนแบบนี้ ผู้ประกอบการหลายเจ้าเล็งเห็นถึงการขยับขยายการค้าออกไปต่างประเทศ นอกจากจะต้องรู้จักการใช้บริการชิปปิ้งแล้ว สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า หรือIncoterms (International Commercial Terms) ซึ่งเป็นข้อกําหนดมาตรฐานสากลที่ใช้ในการตกลงทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน สำหรับ Incoterms ที่ใช้กันบ่อยๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรรู้จัก ได้แก่ 1.EXW (Ex Works) คือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าจะสิ้นสุดที่สถานที่ของผู้ขาย เช่น เราเป็นผู้ซื้อ สั่งซื้อของจากจีน ผู้ขายในจีนจะรับผิดชอบขนส่งสินค้าถึงแค่โกดังเก็บของในจีนเท่านั้น ค่าขนส่งข้ามประเทศต่างๆผู้ซื้ออย่างเราต้องเป็นคนจัดการเอง ทั้งพิธีศุลกากรนำเข้าและส่งออก รวมถึงภาษีผู้ซื้อจะจัดการเอง 2.FOB (Free on Board) คือ เงื่อนไขที่ผู้ขายรับผิดชอบส่งมอบสินค้าถึงท่าเรือต้นทาง นั่นก็คือผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการศุลกากรขาออกด้วย ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระในการทำสัญญาการขนส่งและจ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) รวมถึงรับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง) ซึ่งผู้ซื้อควรทำประกันภัยในการขนส่ง 3.CIF (Cost, Insurance&Freight) คือ เงื่อนไขที่ผู้ขายรับผิดชอบรับมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางบนเรือขนส่งประเทศ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีศุลกากรขาออกและทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง อีกทั้งค่าประกันภัยสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อ 4.DDP (Delivered Duty Paid หรือ Door to Door) คือ …

ชิปปิ้ง กับเรื่องต้องรู้ก่อนทำการค้าระหว่างประเทศ Read More »

นำเข้าสินค้าจากจีน ขั้นตอนการนำเข้าที่ควรรู้

หลายคนต้องเคยสั่งซื้อสินค้าจากจีนมาบ้างใช่มั้ยคะ บางทีก็มาถึงช้า บางทีก็มาถึงเร็ว สงสัยว่าในการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือจากประเทศอื่นๆนั้นมีขั้นตอนยังไงกันแน่ เพื่อเป็นการตรวจเช็คขั้นตอนการนำเข้าที่ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องมีขั้นตอนเหล่านี้แน่นอน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง 1.โรงงานผู้ขาย เวลาซื้อสินค้ามาก็ต้องเริ่มจากผู้ผลิตสินค้า โรงงานสินค้าหรือ shipper เป็นโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่ง shipper จะเป็นผู้ส่งหรือผู้ขาย จะเป็นผู้เจรจากับผู้ซื้อนั่นเองค่ะ 2.การขนส่งในประเทศ กล่าวคือ เมื่อเราสั่งซื้อ ชำระค่าใช้จ่ายแล้วจะมีการขนส่งสินค้าโดยรถจากโรงงานไปยังท่าเรือ ท่ากระสวยอวกาศ เพื่อขนส่งข้ามประเทศอีกที 3.การทำพิธีการศุลกากรขาออก เป็นตอนที่ชิปปิ้งหรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) (อ่านบทความเกี่ยวกับFreight Forwarder ที่นี่) เป็นผู้จัดการพิธีการศุลกากรกับเจ้าหน้าที่เพื่อนำสินค้าออกนอกประเทศ 4.ท่าเรือหรือท่าอากาศยานต้นทาง เมื่อผ่านพิธีการศุลกากรแล้ว ก็จะทำการขนส่งสินค้าลงเรือหรือท่าอากาศยานเพื่อขนส่งไปยังประเทศปลายทาง 5.ท่าเรือหรือท่าอากาศยานปลายทาง เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงประเทศปลายทางแล้ว ก็จะทำการขนสินค้าขึ้นไว้ที่โกดังท่าเรือหรือท่าอากาศยานในประเทศปลายทาง รอให้ผู้ซื้อและกรมศุลกากรมาตรวจสอบสินต้า 6.พิธีการศุลกากรขาเข้า เมื่อสินค้าเข้ามาถึงในประเทศแล้ว ทางศุลกากรจะเข้ามาตรวจพิจารณาสินค้าที่โกดังเก็บสินค้าก่อนว่าตรงกับที่ได้แจ้งกับทางศุลกากรหรือไม่ มีสินค้าผิดกฎหมายหรือมีการชำระภาษีเรียบร้อยดีหรือไม่ หากเรียบร้อยแล้วจึงจะให้ผ่านเข้ามาในประเทศได้ 7.ผู้ซื้อ ขั้นตอนสุดท้าย คือ ผู้ซื้อมารับมอบสินค้าที่โกดัง ควรมีการตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าให้ดีด้วย เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากจีน ขอบคุณข้อมูลจาก exptblog.com ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อควรรู้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือช่องทางทุจริตเกิดขึ้นได้นะคะ หากต้องการมองหาชิปปิ้งดีๆสามารถอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่

ชิปปิ้งกับFreight Forwarder ต่างกันอย่างไร

หลายคนรู้จักแล้วว่า ชิปปิ้ง นั้นคือบริษัทขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก Freight Forwarder ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการขนส่งเช่นกัน และต่างจาก shipping อย่างไร ไปดูกันค่ะ Freight Forwarder คือ (ตัวแทนของผู้ส่งสินค้า) หมายถึง เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เหมือน shipping ทุกประการ เพียงแต่ ไม่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง และตู้คอนเนอร์ก็ไปเช่ามา เพื่อหาลูกค้ารายเล็กหลายรายมารวมกันเพื่อให้ได้ในหนึ่งตู้ ค่าใช้จ่ายของลูกค้ารายเล็กจึงสูงกว่า shipping แต่ shipping ก็เลือกทำแต่ลูกค้ารายใหญ่ แต่หลายคนคิดว่า Freight Forwarder คือ Shipping จริงๆสองสิ่งนี้มีความคล้ายกันอยู่แต่ก็ไม่ได้ต่างไปซะทีเดียว Freight Forwarder นอกจากจะจัดการขนส่งสินค้าแล้วก็จัดการด้านใบขนส่งสินค้าให้กับด่านศุลกากรซึ่งตรงนี้ shipping ก็เป็นผู้จัดการด้วยเช่นกัน Shipping (ชิปปิ้ง)หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเล หรือ บริษัทขนส่งทางเครื่องบินเพื่อนำสินค้านำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้านำไปเข้าตู้คอนเทนเนอร์เก็บสินค้าและรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ ไปถึงท่าเรือ นั่นก็คือ shipping คือบริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีหน้าติดต่อกับผู้ส่งออกว่ามีปริมาณสินค้าปริมาณเท่าไร จะเช่าเป็นตู้ หรือจะรวมกับสินค้าผู้ส่งออกรายอื่นในตู้ใดตู้หนึ่ง เห็นความแตกต่างของ shipping และ Freight …

ชิปปิ้งกับFreight Forwarder ต่างกันอย่างไร Read More »

สั่งของจากจีนมาตกแต่งห้องกันดีกว่า

สวัสดีค่าาา ใครกำลังคิดอยากจะตกแต่งห้องใหม่แต่ไม่รู้จะปรับจะเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรดี สั่งของจากจีนมาตกแต่งกันดีกว่า เพราะมีให้เลือกเยอะแยะเลยล่ะค่ะ ไปดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง 1.ชุดเครื่องนอน จุดแรกที่สามารถปรับเปลี่ยนได้บ่อยและง่ายก็คือเตียงของเรานี่แหละค่ะ เลือกชุดเครื่องนอนใหม่ ลายใหม่ๆน่ารักๆก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศในห้องได้ดีทีเดียวเลยนะคะ ลองเลือกซื้อลายสวยๆเปลี่ยนบรรยากาศการนอนของเราดูนะคะ 2.หมอนอิง หมอนอิงเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่น่าสนใจในการตกแต่งห้อง หรือหากในห้องมีโซฟาก็ประดับกับโซฟาในห้องได้ ซึ่งดีไซน์หมอนอิงเดี๋ยวนี้ก็มีหลายรูปทรง หลายลวดลายน่ารักๆให้เลือกให้ตกแต่งได้ตามสไตล์เรา 3.โคมไฟตั้งโต๊ะ สร้างบรรยากาศอบอุ่นด้วยโคมไฟตั้งโต๊ะ อาจจะตั้งไว้ที่หัวเตียง โต๊ะข้างเตียง ไฟสลัวๆจากโคมไฟให้บรรยากาศที่ทั้งอบอุ่นและเซ็กซี่ เลือกสีและรูปทรง ลวดลายตามสไตล์ของคุณมาเพิ่มบรรยากาศให้กับห้องกันเถอะค่ะ 4.นาฬิกา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุก หรือนาฬิกาแขวนติดผนัง ซึ่งมีหลายรูปแบบ หลายทรง เป็นการเพิ่มสีสันให้กับห้องให้ดูมีอะไร เลือกสีและทรงที่แปลกตาเปลี่ยนบรรยากาศให้ห้องของเราไม่น่าเบื่อ 5.ผ้าม่าน อีกหนึ่งไอเทมที่ทำให้ทั้งห้องเปลี่ยนได้ นั่นก็คือผ้าม่าน นอกจากจะป้องกันแสงแดดแล้วยังทำให้เปลี่ยนบรรยากาศของห้องด้วยสีและลวดลายได้ แค่เปลี่ยนสีและลวดลายก็ทำให้บรรยากาศห้องเปลี่ยนไปได้นะคะ เป็นยังไงกันบ้างคะ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนไอเทมในห้องนิดๆหน่อยก็ทำให้ห้องเปลี่ยนบรรยากาศได้เลยนะคะ สามารถสั่งซื้อสินค้าจากจีนได้ ที่นี่ มีสินค้าให้เลือกมากมายเลยนะคะ อ่านบทความอื่นๆได้ที่นี่

ชิปปิ้ง กับความรู้เกี่ยวกับประเภทขนส่ง

หลายคนอาจจะเคยทราบมาแล้วนะคะว่า ชิปปิ้งนั้น มีช่องทางการขนส่งหลักๆอยู่สามช่องทาง ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ วันนี้เราจะบอกช่องทางการขนส่งให้แยกย่อยไปอีก จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ 1.การขนส่งทางน้ำ การขนส่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ขนส่งผ่านแม่น้ำลำคลองและมหาสมุทร นิยมขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ขนได้ปริมาณมาก เป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ เครื่องจักร 2.การขนส่งทางบก แบ่งเป็น 2 ประเภท รถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงสินค้าที่สำคัญของไทย สามารถขนส่งสินค้าในปริมาณมาก อีกประเภทหนึ่งคือ รถไฟเฉพาะกิจ  ใช้เฉพาะงาน เช่น บรรทุกน้ำมัน บรรทุกซีเมนต์ รถยนต์หรือรถบรรทุก นับเป็นการขนส่งที่สำคัญของการขนส่งทางบก มีการขยายถนนเส้นทางในการขนส่ง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม 3.การขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งผ่านเครื่องบินนั่นเอง เป็นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด หมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น 4.การขนส่งทางท่อ เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ …

ชิปปิ้ง กับความรู้เกี่ยวกับประเภทขนส่ง Read More »

สั่งสินค้าจากจีนมาแต่งห้องเล็กๆให้น่ารัก

สวัสดีชาวหอพักค้าาา นักศึกษา ชาวออฟฟิศหลายคนเลือกที่จะอยู่หอพักด้วยสะดวก ใกล้สถานศึกษาหรือที่ทำงาน แต่หอพักบางที่อาจจะมีขนาดเล็ก เราต้องตกแต่งให้มีพื้นที่ใช้สอยและน่ารักขึ้นมาโดยสามารถสั่งสินค้าจากจีนมาตกแต่ง เรามีเทคนิคจัดห้องให้น่ารักๆ ไปดูกันเลย จัดโซนที่เก็บสิ่งของที่ใช้ประจำ เช่น กุญแจ เสื้อคลุมเป็นสิ่งที่เราหยิบใช้ทุกวันๆ จัดโซนให้เราหยิบใช้ได้สะดวก พวกเฟอร์นิเจอร์หรือกล่องเพื่อไม่ให้ห้องเล็กๆของเรารกไปอีก การจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบจะทำให้ห้องเรามีพื้นที่กว้างขึ้น จัดของให้เป็นแนวตั้งทำให้มีพื้นที่ในห้องมากขึ้น ส่วนใหญ่เรามักจะซื้อเฟอร์นิเจอร์หรือจัดของเป็นแนวนอน ยิ่งทำให้พื้นที่ในห้องดูเล็กลง ควรใช้ที่แขวนผ้าแนวกิ่งไม้หรือเฟอร์นิเจอร์ ชั้นวางของแบบแนวตั้ง รวบรวมสิ่งของไว้เป็นที่ มีของจุกจิกต้องจัดเก็บให้เป็นส่วนๆเป็นที่เป็นทาง เช่น กล่องใส่เครื่องเขียน กล่องใส่เครื่องสำอางค์ กล่องใส่เอกสาร เมื่อจัดให้เป็นระเบียบ ห้องก็จะดูมีพื้นที่กว้างขึ้น จัดห้องด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่มีขา เช่น เตียง โซฟา เตียง ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบทึบไม่มีใต้เตียงหรือโซฟาก็จะทำให้ทึบ อึดอัด หากใช้แบบมีขาเราสามารถเก็บของไว้ข้างใต้ได้ ทำให้ไม่เกะกะพื้นที่ในห้อง สำหรับใครที่อยากแต่งห้องสามารถนำทริคของเราไปแต่งได้นะคะ โดยสั่งสินค้าจากจีนมาตกแต่งได้ กดที่นี่ มีสินค้ามากมายให้เลือก อ่านบทความอื่นๆได้ที่นี่

รับนำเข้าสินค้าจากจีนกับการใช้ฟอร์มอีลดภาษีนำเข้า

ในการรับนำเข้าสินค้าจากจีนต้องรู้จักฟอร์มอี ฟอร์มอีคืออะไร? ฟอร์มอี คือ เอกสารแสดงถิ่นกำเนิดสินค้าระหว่าง จีน และ อาเซียนใช้สำหรับยืนยันถิ่นกำเนิดของสินค้าว่ามีวัตถุดิบและผลิตจากกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษี และในการใช้ฟอร์มอีจะต้องเช็คอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ ลักษณะเด่นของ Form E ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศจีน จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  Form E นั้นมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แสดงสินค้าได้ไม่เกิน 20 รายการ ข้อมูลที่ระบุในเอกสารต้องถูกต้องตรงกับเอกสารอื่นที่ใช้ประกอบการนำเข้าส่งออก เช็คลิสต์ฟอร์มอี มีดังนี้ 1. ชื่อที่อยู่ Shipper และ Consignee ใน Form E ต้องตรงกับ Bill of lading ชื่อผู้ขาย(Shipper) และ ผู้ซื้อ(Consignee) ต้องถูกต้องทุกตัวอักษร หากมีคำผิดหรือไม่ตรงกันจะใช้ไม่ได้ 2. ต้องระบุ Shipping Mark ด้วย Shipping Mark ควรจะระบุมาทุกครั้งไม่อย่างนั้นจะต้องชี้แจงเหตุผลให้ได้หรืออาจต้องวางประกัน(จ่ายภาษีนำเข้าไปก่อนเต็มจำนวน)แล้วส่งเรื่องไปประเมินกับหน่วยงานทางราชการอีกครั้ง ซึ่งไม่แนะนำเพราะอาจทำให้เสียภาษีเต็มจำนวนหรือเป็นช่องทางการทุจริตได้ 3. พิกัดอัตราภาษี(HS.Code) ควรให้ชิปปิ้งตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ควรจะเช็คพิกัดอัตราภาษีนำเข้ากับทางชิปปิ้งที่จะออกของให้เราก่อนทุกครั้งโดยให้ขอ …

รับนำเข้าสินค้าจากจีนกับการใช้ฟอร์มอีลดภาษีนำเข้า Read More »