ชิปปิ้ง ศัพท์ Shipping น่ารู้! ใช้สื่อสารกับคู่ค้าให้เข้าใจตรงกัน

ชิปปิ้ง ศัพท์ Shipping_Thaitop_edited ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ศัพท์ Shipping น่ารู้! ใช้สื่อสารกับคู่ค้าให้เข้าใจตรงกัน                 Shipping Thaitop edited 768x402

ชิปปิ้ง สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่หรือคนทั่วไปที่อยากรู้เรื่องชิปปิ้ง เคยรู้สึกงงงวยกันบ้างหรือไม่ เมื่อเจอกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์เฉพาะเอาไว้ใช้สื่อสารกับเฟรท ชิปปิ้ง และซัพพลายเออร์

ซึ่งประกอบไปด้วยคำต่างๆ มากมายที่ใช้พูดคุยกับคู่ค้าต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ควรรู้จักคำศัพท์เฉพาะในวงการชิปปิ้ง

เพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และเข้าใจความหมายที่ตรงกัน เรารวบรวมคำศัพท์ชิปปิ้งเอาไว้ที่นี่แล้ว

คำศัพท์ชิปปิ้ง

Shipper                                

หมายความว่า                       ผู้ส่งสินค้า

Consignee                           

หมายความว่า                       ผู้รับสินค้า

Customs Broker                  

หมายความว่า                       ตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า

O/F , Ocean Freight           

หมายความว่า                       ค่าระวางทางเรือ

A/F , Air Freight                  

หมายความว่า                       ค่าระวางทางเครื่องบิน

Pickup , Trucking , Inland , Inland Freight                    

หมายความว่า                       การขนส่งสินค้าภายในประเทศ

Stuffing                                 

หมายความว่า                       การบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์

FCL , Full container load                  

หมายความว่า                       ขนส่งแบบเต็มตู้สินค้า

LCL , Less than container load       

หมายความว่า                       การโหลดหรือขนส่งแบบไม่เต็มตู้สินค้า หรือ แบ่งพื้นที่รวมกันไปหลายๆ รายในตู้สินค้าใบเดียวกัน

Closing date , Cut off sate                

หมายความว่า                       กำหนดวันคืนตู้สินค้า กรณีสินค้าไปส่งที่ท่าเรือไม่ทัน กำหนดนี้อาจทำให้ตกเรือได้

ETD , Estimate time of departure   

หมายความว่า                       กำหนดการวันออกเรือโดยประมาณ อาจไม่ได้ออกเรือในวันที่ กำหนดไว้ก็ได้ เนื่องจากสภาพอากาศหรือเรือเกิดความขัดข้อง

T/T , Transit time                 

หมายความว่า                       ระยะเวลาในการเดินทางโดยประมาณ

ETA , Estimate time of Arrival           

หมายความว่า                       กำหนดการวันเรือถึงปลายทางโดยประมาณ

Customs House                  

หมายความว่า                       กรมศุลกากร

B/L , Bill of lading               

หมายความว่า                       เอกสารที่ชี้แจ้งรายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับการขนส่ง ประกอบ ไปด้วยชื่อผู้ส่งออก ผู้นำเข้า จำนวนสินค้า ขนาด ชนิดของสินค้า กำหนดการวันเรือออก ใครคือผู้ส่ง สามารถติดต่อได้ทางไหนบ้าง ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะอยู่ในเอกสารที่ว่านี้ทั้งหมด

PI , Proforma Invoice         

หมายความว่า                       ใบเรียกเก็บเงิน

CI , Commercial Invoice   

หมายความว่า                       มูลในอินวอยซ์จะถูกเอาไว้คำนวณกับภาษี

PL , Packing list                  

หมายความว่า                       เอกสารชี้แจ้งรายละเอียดการบรรจุ สินค้าตัวไหนอยู่ในกล่องไหน แต่ละกล่องมีขนาดเท่าไร น้ำหนักเท่าไร จะอยู่ในเอกสารนี้ทั้งหมด

INS. , Insurance                  

หมายความว่า                       ประกันภัย หากใครไม่ทำประภัยสินค้าเอาไว้ เวลาสินค้าเสียหายอาจสร้างความปวดหัวให้อย่างแน่นอน

Customs clearance           

หมายความว่า                       ขั้นตอนการทำภาษีศุลกากร

C/O , Certificate of Origin

หมายความว่า                       เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด ซึ่งมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น Form E ใช้สำหรับ Asean-China เป็นต้น

DUTY/VAT                            

หมายความว่า                       ค่าภาษี/ภาษีมูลค่าเพิ่ม

H S CODE                           

หมายความว่า                       พิกัดภาษี

Export Entry                         

หมายความว่า                       ใบขนสินค้าขาออก

Import Entry                         

หมายความว่า                       ใบขนสินค้าขาเข้า

Vessel                                   

หมายความว่า                       เรือสินค้า โดยส่วนใหญ่ผู้คนมักคิดถึงคำว่า Boat หรือ Ship ก่อนเป็นอันดับแรก จริงๆ ใช้คำว่า Vessel

TEU , Twenty Equipment Unit         

หมายความว่า                       ตู้ขนาด 20 ฟุต และยังเป็นหน่วยวัดต่อขนาด 20 ฟุตด้วยเช่นกัน เช่น ถ้าใช้ตู้ 40 ฟุต อาจต้องมีค่าใช้จ่าย 2 TEU เพิ่มเติมมาด้วย

อย่างไรก็ตาม คำศัพท์เฉพาะเหล่านี้มักใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการและคู่ค้าด้วยกันเอง จึงเป็นคำเฉพาะที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคย หรือรู้ความหมายเพียงบางคำเท่านั้น แต่เพื่อให้ธุรกิจชิปปิ้งดำเนินไปอย่างราบรื่น การเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานของผู้ประกอบการดูเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น หากต้องการใช้บริการมืออาชีพเรื่องการนำเข้าสินค้าจากจีน สามารถเลือกใช้บริการของ Thaitopcargo ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ ให้บริการอย่างครบวงจร

อ้างอิงข้อมูล : https://bit.ly/2ZQeHKD