Shippingจีน ส่องสถานการณ์ทั่วโลก หลังเกิดโรคระบาดร้ายแรง

Shippingจีน ส่องสถานการณ์ทั่วโลก หลังเกิดโรคระบาดร้ายแรง - thaitopcargo shippingจีน Shippingจีน ส่องสถานการณ์ทั่วโลก หลังเกิดโรคระบาดร้ายแรง                             768x402

Shippingจีน การระบาดของ Coronavirus (COVID-19) มีผลกระทบต่อการเดินสะพัดของการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์และซัพพลายเชนทั่วโลก 

การถูกจำกัดความสามารถของโรงงานผลิตในจีน สร้างความขาดแคลนในการส่งออกของจีนทั่วโลก และปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ลดลงโดยเริ่มจากเส้นทางการค้าในยุโรปและสหรัฐอเมริกา Thaitopcargo ผู้ให้บริการ Shippingจีน รวบรวมสถานการณ์การขนส่ง หลังเกิดวิกฤต Coronavirus (COVID-19) ในแต่ละประเทศ ดังต่อไปนี้

1.สหรัฐอเมริกา
ขณะนี้สหรัฐอเมริกาไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และยังคงมีการเดินเรือเปล่าใน Trans-Pacific Partnership (TPP) และ Transatlantic (TA) แต่ยังมีปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ตู้คอนเทนเนอร์ในบางแห่งหรือแถบ Midwest รวมทั้งมีอุปสรรคใการนำเข้าโดยการขนส่งทางทะเลจากตะวันออกไกลหรือจากจีน ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งจากการขาดแคลนพื้นที่ขนส่งสินค้า 

การขนส่งทางทะเล: ผู้ให้บริการในมหาสมุทรดำเนินการตามมาตรฐานวิกฤตการณ์ในระดับสากลหมายความว่าผู้ให้บริการจะยังคงปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลัง เดินเรือตามกำหนดและพนักงานยังสามารถทำงานจากระยะไกล (Telework) ได้อย่างปลอดภัย เพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีความล่าช้า – เกี่ยวกับเวลาตอบสนองจากผู้ให้บริการและตารางเดินเรือ

2.จีน
ระดับความเสี่ยง COVID-19 ลดลงจากระดับสูง ถึงปานกลาง เนื่องจากรัฐบาลจีนสั่งปิดประเทศ ห้ามชาวจีนออกนอกประเทศไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าสู่จีนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา เมื่อจำนวนการติดเชื้อลดลงในประเทศจีนและทั่วเอเชีย สถานการณ์ในประเทศจีนจึงเริ่มมีเสถียรภาพและการผลิตเริ่มค่อยๆ กลับคืนสู่สภาวะปกติ รวมถึงการเคลื่อนย้ายการขนส่งภายในประเทศ จะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ 

ในมณฑลหูเป่ย เริ่มมีการเชื่อมต่อกับการขนส่งนอกเมือง ส่วนเมืองอู่ฮั่น เริ่มเปิดให้บริการขนส่คมนาคม(Shipping จีน)อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งการควบคุมการจราจรในส่วนอื่น ๆ ของเมืองได้ถูกยกเลิกไปในวันที่ 25 มีนาคม 2563

3.ญี่ปุ่น
มีการประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับโตเกียวและอีก 6 จังหวัด ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2563 นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อ 3 จังหวัดในโตเกียว ได้แก่ คานางาวะ โอซาก้า และ ฟุกุโอกะ

ในการขนส่งทางอากาศ มี 73 ประเทศ/เมืองที่ถูกงดนำเข้า สายการบินบางแห่งมีเที่ยวบินที่ลดลง และในบางเส้นทาง บางเที่ยวบินขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้ถูกระงับหรือลดลงด้วยเช่นกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว คาดการณ์กันว่าจะมีการดำเนินการขนส่งสินค้าชั่วคราว ทั้งในและนอกพื้นที่เมืองนาริตะ, ฮาเนะดะ (Haneda), คันไซ (KIX) และนาโกย่า อย่างไรก็ตามการขนส่งทางทะเลและท่าเรือขนส่งยังคงดำเนินการตามปกติ

4.ยุโรป
หลายประเทศในยุโรป การขนส่งสินค้า ยังคงเป็นปกติในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ยุโรปยังคงมีการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าเครือข่ายการขนส่งมีความมั่นคงและได้รับการประสานงานอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการปรับเลี่ยนภายในระบบการขนส่ง และความถี่ในการออกเดินทางของสินค้า ทั้งนี้ อาจมีความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นในการขนส่ง เนื่องจากข้อจำกัด ในแต่ละท้องถิ่นของบางประเทศ และเพื่อที่จะไม่เป็นทำลายห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งสินค้ายังคงได้รับอนุญาต 

การขนส่งทางถนนหรือการขนส่งทางบก : อาจมีการหยุดชะงักและชะลอตัวไปบ้าง เนื่องจากมีการควบคุมตามชายแดนที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการด้านสุขอนามัย (การวัดอุณหภูมิโดยผู้ขับขี่ ฯลฯ ) ส่งผลระทบโดยตรงต่อความสามารถในการขนส่ง เช่น สินค้า, อัตรา, ความเร็วของการดำเนินการประมวลผล, เวลาในการส่งมอบ เป็นต้น

5.สิงคโปร์
การขนส่งทางทะเล : ไม่มีผลกระทบต่อการเดินเรือที่มาถึงสิงคโปร์ การดำเนินงานยังคงเป็นไปตามปกติยกเว้นลูกเรือที่มาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง และผู้ให้บริการทุกคนจะต้องส่งประกาศสุขภาพต่อสำนักงานอนามัยท่าเรือ 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางถึงท่าเรือสิงคโปร์

การขนส่งทางอากาศ : ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงาน แม้ว่ากำหนดการของสายการบินจะลดลงในบางสถานที่ แต่ยังคงสามารถรองรับจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ได้โดยผ่านทางเครื่องบินขนส่งสินค้า สายการบินพาณิชย์ และเช่าเหมาลำ และศูนย์กลางการขนส่ง (Sea-Air/ Air-Sea/ Air-Air) ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานขนส่งสินค้า รวมถึงการขนส่งทางรถบรรทุก, โลจิสติกส์, ศุลกากร ฯ

6. เกาหลีใต้
ไม่มีประกาศยกเลิกการจัดส่งสินค้าจากในตารางการนำเข้ามายังท่า ในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ (PUS) ท่าเรือ สนามบินและสำนักงานศุลกากรทั้งหมดยังคงเปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่สถานการณ์มีความเข้มงวดมากขึ้น เที่ยวบินโดยสารถูกยกเลิกพร้อมกับลดจำนวนเครื่องบินขนส่งสินค้าแบบวันต่อวัน ทั้งนี้ มีเพียงเที่ยวบินบรรทุกสินค้านำเข้า-ส่งออกเท่านั้นที่ได้รับการอนุญาต

การขนส่งทางทะเล : ระยะเวลาการขนส่งสินค้าโดยรวมของเรือเริ่มมีความล่าช้า เนื่องจากท่าเดินเรือมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการล่องเรือเปล่าจากสายการเดินเรือหลายแห่ง พร้อมๆ กับมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินเรือในขณะเดียวกัน

7.อินเดีย
ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมห่วงโซ่อุปทาน สินค้าที่ไม่จำเป็นจะได้รับผลกระทบจากการประกาศของสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสั่งให้ระงับการขนส่งสินค้าที่ไม่จำเป็นลงชั่วคราว 

การขนส่งทางอากาศ : การดำเนินงานยังคงเป็น Status Quo (สถานะของกิจการที่มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมหรือการเมือง) เนื่องจากมีการจำกัดของเที่ยวบิน ที่ดำเนินการโดยสายการบินสำหรับการขนส่งสินค้า เท่านั้น

การขนส่งทางทะเล : การจัดส่งสินค้ายังขนส่งได้ตามปกติ แต่สินค้าจะต้องถูกส่งมอบก่อน มาถึงหรือหลังจากวันที่ 14 เมษายน 2563 ไปแล้ว เนื่องจากสินค้าจะต้องถูก Lock Down ไว้เป็นเวลา 14 วันตามมาตรการ MBL (Master Bill of Lading) /HBL(House Bill of Lading) บริษัทจัดส่งสินค้าส่วนใหญ่ได้ตกลงที่จะปล่อยกักกันในระหว่างการ Lock Down

ที่มาข้อมูล : https://www.bollore-logistics.com/en/Pages/news/Coronavirus_Impact_Update.aspx