Shippingจีน Update! 10 เรื่องน่ารู้ของการขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์

Shippingจีน 10 เรื่องน่ารู้ขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์ Thaitopcargo shippingจีน Shippingจีน Update! 10 เรื่องน่ารู้ของการขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์ 10                                                                                                                    Thaitopcargo 768x402

Shippingจีน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีการขนส่งทั้งทางเรือและทางรถ ซึ่งการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ เป็นการขนส่งทางทะเล จากจีนมาไทยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 15-30 วัน 

การขนส่งทางเรือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคนี้ คือการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นบริการ Shippingจีน ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ข้อดีคือ ประหยัดเวลาในการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยผ่อนแรง และรวดเร็ว

Thaitopcargo บริษัท Shippingจีน ที่ให้บริการขนส่งจากจีนมาไทย รวบรวมเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้  

  1. Keith Tantlinger วิศวรกรชาวอเมริกัน คือผู้ประดิษฐ์ตู้คอนเทนเนอร์เป็นคนแรกเมื่อปี 1949 โดยเขาออกแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่ทันสมัย โดยใช้กล่องอะลูมิเนียมขนาด 30 ฟุต ที่สามารถวางซ้อนกันสูง 2 ชั้นบนเรือบรรทุก ที่ออกเดินทางระหว่างซีแอตเทิลและอะลาสก้า ทุกคนสนใจแนวคิดนี้ แต่โชคร้ายที่ไม่มีใครจะใช้เงินให้กับการขนส่งดังกล่าวเกิดขึ้นบนบก
  1. ในปี 1950 Malcolm McLean เจ้าสัวรถบรรทุก ขอคำแนะนำจาก Tantlinger เกี่ยวกับแนวคิดตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีการถกเถียงกันว่า ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใดที่สามารถบรรทุกบนเรือได้ในปริมาณสูงสุดและประหยัดที่สุด ในปี 1950 McLean ดัดแปลงรูปแบบการขนส่งที่มีมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 หรือที่เรียกว่า ‘Break Bulk’ ให้กลายเป็นการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์โลหะ ทำให้การขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์เกิดขึ้นนับแต่นั้น ข้อดีคือ ตู้คอนเทนเนอร์โลหะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ท่าเรือ, เรือขนส่ง, เครนยกของ, สถานที่เก็บสินค้า, รถบรรทุก, รถไฟ และการปฏิบัติงานของบริษัทนส่ง
  1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยตู้ขนาด 20 และ 40 ฟุต แม้ว่าหน่วย 20 ฟุต จะหมายถึงความยาวตู้ 20 ฟุต แต่ขนาดจริงคือ 19 ฟุต กว้าง 8 ฟุต และสูง 8.6 ฟุต ส่วนตู้ 40 ฟุต มีความยาวเท่ากับ 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต และสูง 9.6 ฟุต ขนาดมาตรฐานของตู้สินค้าถูกใช้ในการชิปปิ้งทั่วโลก รวมทั้ง Shippingจีนด้วย
  1. ในปี 2012 ตู้คอนเทนเนอร์มีการขนส่งมากกว่า 20 ล้านตู้ทั่วโลก โดย 5-6 ล้านตู้เป็นการขนส่งทั่วโลกทางเรือ รถบรรทุก และรถไฟ รวมทั้งหมดประมาณ 200 ล้านเที่ยวต่อปี
  1. ทุกๆ ปีจะมีตู้คอนเทนเนอร์สูญหายในทะเลโดยประมาณ 10,000 ตู้ (รวมถึงเหตุการณ์อุทกภัย) หรือเกือบวันละ 192 ตู้ โดยตู้คอนเทนเนอร์ที่สูญหายถูกคลื่นซัดและจมลงไปในทะเล (สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตจะใช้เวลานานถึง 57 วันในการจมลงไปในทะเล ส่วนขนาด 40 ฟุต ใช้เวลานานถึง 3 เท่า) วัตถุที่ไม่จม จะลอยอยู่ใต้พื้นผิว ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการเดินเรือลำอื่นๆ ในมหาสมุทร
  1. ประมาณ 97% ของตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดผลิตในประเทศจีน เหตุผลก็เพราะค่าแรงในจีนต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และสินค้าส่วนใหญ่ในโลกต่างก็มีฐานการผลิตอยู่ในจีน มันจึงง่ายมากที่จะผลิตตู้สินค้าใกล้กับท่าเรือขนส่ง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว จีนสามารถผลิตตู้สินค้าได้เฉลี่ยปีละ 5.8 ล้าน TEU (TEU ย่อมาจาก Twenty-foot คือหน่วยนับสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุตเท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 ทีอียู)
  1. ปี 2018 เซี่ยงไฮ้ เป็นท่าเรือที่คึกคักมากที่สุดในโลก หรือมีตู้ขนส่งสินค้าประมาณ 42 ล้านตู้ (TEU = เทียบเท่ากับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ที่ขนส่งผ่านท่าเรือนี้
  1. ในปี 2019 สภาหอการค้าขนส่งทางเรือ (International Chamber of Shipping) ระบุว่า มีเรือพาณิชย์กว่า 50,000 ลำ ปฏิบัติงานอยู่ในมหาสมุทร
  1. ‘OOCL Hong Kong’ ได้รับการบันทึกให้เป็นเรือขนส่งสินค้าลำใหญ่ที่สุดในโลกประจำปี 2019 โดยเจ้าของคือสายเรือ OOCL (Orient Oversea Container Line) สร้างเจ้าเรือ ‘OOCL Hong Kong’ ด้วยความยาว 400 เมตร กว้าง 8 เมตร และความลึกของเรือ 32.5 เมตร ขนาดความจุเท่ากับ 21,413 TEU เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 เรือ OOCL ได้แล่นไปยังท่าเรือ Felixstowe สหราชอาณาจักร
  1. HMM Algeciras เป็นเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของสายการเดินเรือแห่งชาติเกาหลีใต้ ซึ่งมีขนาดความจุ 24,000 TEU เป็นเรือขนส่งสินค้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งระบบบำบัดอากาศเสียตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม IMO2020 และยกระดับประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ถือเป็นเรือต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์การเดินเรือที่เปลี่ยนไปสู่ความรักษ์โลก โดยรัฐบาลเกาหลีจะทยอยส่งมอบจำนวน 20 ลำให้กับอู่ต่อเรือ 3 แห่ง ได้แก่ DSME, Hyundai Heavy Industries (HHI) และ Samsung Heavy Industries (SHI)

 ที่มาข้อมูล :

https://www.billiebox.co.uk/facts-about-shipping-containers/

https://www.rivieramm.com/news-content-hub/news-content-hub/hmm-unveils-worlds-largest-container-ship-59174

http://www.laemchabangportphase3.com/know_02.html