Shippingจีน 9 เหตุผลทำไมธุรกิจ Startups จึงล้มเหลว

Shippingจีน 9 เหตุผลทำไมธุรกิจ Startups จึงล้มเหลว-thaitopcargo shippingจีน Shippingจีน 9 เหตุผลทำไมธุรกิจ Startups จึงล้มเหลว 10                                          768x402

Shippingจีน  ในการเริ่มต้นสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักคิดว่าพวกเขากำลังจะสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างไรก็ตาม 90% มักจะล้มเหลว

สาเหตุของความล้มเหลวอาจเกิดขึ้นมากมายเนื่องจากขาดความเหมาะสมของสินค้าและตลาดและเงินทุนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ นักลงทุน หรือบุคคลาธรรมดาที่ประกอบธุรกิจ ทุกคนต่างต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเหตุผล ที่อยู่เบื้องหลังของความล้มเหลวในครั้งนี้

Thaitopcargo ได้รวบรวม 9 เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความล้มเหลวของธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดและล้มเหลวได้

1. สินค้าหรือบริการไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
เป็นการเริ่มต้นที่ล้มเหลวเมื่อผู้ประกอบการไม่สามารถแก้ปัญหาตลาดที่มีอยู่ได้ บริษัทส่วนใหญ่มักเชื่อ หรือคาดการณ์ว่าสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของพวกเขานั้นค่อนข้างน่าสนใจและจะเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยอาจมองสถานการณ์ด้านบวกมากเกินไปจนไม่มีแผนสอง แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์นั้น ไม่สามารถสร้างความต้องการของตลาดได้หรือเป็นที่ต้องการของตลาดต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ บริษัทจะเผชิญหน้ากับความหายนะทันที

2.เงินทุนไม่เพียงพอ
การเริ่มต้น Startup ต้องใช้เวลาและเงินทุนอย่างเพียงพอในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น แต่ไม่มีคำตอบว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการทำธุรกิจ การเริ่มต้น Startup จำนวนมากที่ล้มเหลว ปัญหาหลักๆ เนื่องจากเงินทุนไม่เพียงพอ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ที่คุณจะต้องมีเงินทุนสำรองไว้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น แต่ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนในกองทุนเงินสำรองนั้นด้วย

3.มีความแตกแยกเกิดขึ้นในทีม
การมีทีมเวิร์คที่มีความสามัคคีกัน และมีทักษะความชำนาญที่หลากหลาย มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ทว่า ผู้ก่อตั้ง Startups หลายรายไม่สามารถทำในสิ่งที่เป็นปัจจัยส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น ควรหันกลับมาให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆ พื้นฐานของธุรกิจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในทีม เพราะความไม่ลงรอยกัน ไม่ว่าจะเป็นทีมงานหรือนักลงทุนของบริษัท ย่อมส่งผลให้เกิดความล้มเหลวได้ในที่สุด

4.กังวลใจในการแข่งขันมากเกินไป
เป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันในส่วนแบ่งทางการตลาด อย่างไรก็ตาม นัก Startup ผู้เริ่มต้น ไม่ควรให้ความสนใจกับการแข่งขัน หรือคู่แข่งมากจนเกินไป ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า บริษัท ไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการแข่งขัน แต่ไม่ควรอยู่ในระดับที่มากจนถึงกับตระหนักจนเกินไป ควรมีความสมดุลระหว่างความกังวลและการบริหารงานให้เป็นไปอย่างพอดี

5. ตั้งราคาสูงจนเกินไป
การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ ควรให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าจะได้รับ หากผลิตภัณฑ์มีราคาแพงเกินไปและไม่มีความคุ้มค่ากับผลที่จะได้รับ ก็อาจเสี่ยงกับความล้มเหลว แต่หากตั้งราคาไว้สูง แต่ลูกค้าได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่ พวกเขาก็อาจจะรู้สึกว่ามันคุ้มค่าและน่าลงทุน ซึ่งในกรณีนี้ ลูกค้าจะไม่บ่นเกี่ยวกับราคาของผลิตภัณฑ์

6.ละเลยความต้องการของลูกค้า
ความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการและโซลูชั่นที่ลูกค้าต้องการ อย่างไรก็ตาม ในการบริหารกิจการ จึงไม่ควรเพิกเฉยต่อความต้องการของลูกค้า การรับคำติชมจากผู้ใช้งานเป็นระยะๆ ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ จะไม่ทำให้บริษัทล้มเหลว แต่อาจส่งผลดีให้ลูกค้ากลายเป็นแฟนของสินค้าและบริการของคุณต่อไปเรื่อยๆ

7.ไม่มีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน
บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการมักจะเชื่อว่า เป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์/บริการ หรือเว็บไซต์เพื่อรองรับลูกค้า แต่มันเป็นเรื่องยากระดับหนึ่งที่จะประสบความสำเร็จได้ หากไม่มีแผนหรือรูปแบบการทำธุรกิจที่ชัดเจน

8.ทำการตลาดไม่ดี
สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ สิ่งสำคัญที่สุดคือการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เหมาะสม ธุรกิจควรมุ่งเน้น ที่การดึงดูดความสนใจของลูกค้าและเปลี่ยนให้เป็นกลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้า นี่คือทักษะที่สำคัญที่สุดของการทำ ธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำไว้ว่าหากบริษัทหรือผู้ประกอบการล้มเหลวในการทำการตลาด ธุรกิจก็ไม่สามารถเติบโตได้ตามที่ต้องการ

9.ความเสี่ยงทางกฎหมาย
บางครั้งการเริ่มต้นอาจติดขัดกับความซับซ้อนทางกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความล้มเหลวบางประการ เช่น การระงับบัญชีพันธมิตรที่สร้างรายได้สูงสุดหรือไม่สามารถเปิดตัวธุรกิจในระดับ Global ได้ ทำให้จำกัดการเติบโตในวงแคบ

ที่กล่าวมานี้ คือเหตุผลหลักๆ สำหรับความล้มเหลวของธุรกิจ Startup นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น
● ความล้มเหลวเมื่อสตาร์ทอัพต้องเปลี่ยนทิศทางหรือที่เรียกกันว่า ‘Pivot’
● ความหมดไฟที่จะหาเงินหมุนเวียน
● ขาดการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจ
● ไม่มีนักลงทุนอยู่ในบอร์ดบริหาร

ข้อมูลจาก : https://siliconcanals.com/news/common-reasons-why-startups-fail/