ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้ของการขนส่งทางเรือ ด้วยระบบ ‘ตู้คอนเทนเนอร์’

ชิปปิ้ง ขนส่งทางเรือ แบบตู้คอนเทนเนอร์ ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้ของการขนส่งทางเรือ ด้วยระบบ ‘ตู้คอนเทนเนอร์’                                                                                          768x402

ชิปปิ้งปัจจุบัน การขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ที่ได้รับความนิยมสูง มี 2 ประเภท คือทางรถและทางเรือ

โดยเฉพาะการขนส่งทางเรือ มักได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการหรือชิปปิ้งจีนที่ต้องการขนส่งสินค้าในปริมาณมาก เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงและราคาถูก

Thaitopcargo ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า โดยการขนส่งทางเรือในยุคนี้ เป็นการขนส่งด้วยเรือ Container Ship หรือการขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งลักษณะของตู้ Container นั้นเป็นแบบ Curable Packing หรือเป็นตู้ที่ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐานที่ 20 ฟุต และ 40 ฟุต

การขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์

การขนส่งทางเรือ ถือเป็นบริการขนส่งที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการชิปปิ้ง เพราะมีต้นทุนการขนส่งต่ำ สามารถขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ ส่วนมากมักเป็นการขนส่งด้วยระบบของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) สินค้าที่จะขนส่งจึงต้องมีการนำมาบรรจุที่ตู้ (Stuffing) และมีการขนย้ายตู้ขึ้นไว้บนเรือ Container Ship ซึ่งได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ

แล้วท่าเรือแบบไหน ที่สามารถรองรับการขนส่งระบบนี้ได้ ? ท่าเรือดังกล่าวต้องมีการออกแบบที่เรียกว่า Terminal Design เพื่อให้เหมาะสม ทั้งด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม จะต้องประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ เขื่อนกั้นคลื่น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

ลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box)

ตู้คอนเทนเนอร์อย่างที่เห็นโดยทั่วไปจะเป็นตู้เหล็กที่มีขนาดมาตรฐานกำกับเอาไว้ อาจผลิตจากเหล็กหรืออลูมิเนียมก็ได้ โครงสร้างภายนอกมีความแข็งแรงและสามารถวางซ้อนทับเรียงกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น โดยมีตัวยึดหรือเรียกว่า Slot ที่ทำให้แต่ละตู้มีการยึดติดกัน

ส่วนใหญ่มีประตูอยู่ 2 บาน มีการระบุรายละเอียดของข้อมูลเอาไว้ เช่น หมายเลขตู้ (Container Number) น้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด ฯลฯ และเมื่อปิดประตูจะมีตัวล็อกตู้ สำหรับใช้คล้องซีล (Seal) แต่เดิมเป็นตะกั่ว แต่ในปัจจุบันเป็นพลาสติก มีหมายเลขกำกับเอาไว้ เพื่อใช้บ่งชี้สถานภาพ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปถึง Electronic Seal สามารถเข้าไปตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Tracking) ช่วยหาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าและภายในตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีพื้นที่สำหรับใช้วาง และบรรจุสินค้า

ประเภทตู้สินค้ามีอะไรบ้าง ?

  1. Dry Cargoes เป็นประเภทของตู้ใส่สินค้าทั่วไป ที่ได้บรรจุหีบห่อหรือภาชนะแล้ว สินค้าที่นำมาบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการการรักษาอุณหภูมิ เมื่อสินค้าเข้าตู้แล้ว ต้องมีการจัดทำที่กั้นเพื่อไม่ให้สินค้าเลื่อนหรือขยับ อาจใช้ถุงกระดาษที่มีการเป่าลม หรือที่เรียกว่า Balloon Bags มาวางอัดกันไว้ในช่องวางของตัวสินค้ากับตัวตู้ หรือสามารถใช้ไม้มาปิดกั้นเป็นผนังหน้าตู้ ที่เรียกว่า Wooden Partition หรือหากใช้เชือกไนลอนรัดหน้าตู้ จะเรียกแบบนี้ว่า Lashing
  2. Refrigerator Cargoes เป็นประเภทตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศ จึงมีการปรับอุณหภูมิภายในตู้ตามมาตรฐาน โดยสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย -18 องศาเซลเซียส สำหรับเครื่องทำความเย็นนี้อาจติดอยู่กับตัวตู้ หรือมีการใช้ปลั๊กเพื่อต่อกระแสไฟฟ้าโดยเสียบจากนอกตู้ สำหรับตู้ประเภทนี้จำเป็นต้องมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิตู้อยู่ตลอดเวลา
  3. Garment Container เป็นตู้สินค้าที่ใช้บรรจุเสื้อผ้า ภายในมีราวแขวนเสื้อ ส่วนมากใช้กับสินค้าที่เป็นแฟชั่น และไม่ต้องการพับหรือบรรจุอยู่ในแพ็คเพราะจะทำให้เสื้อผ้ามีรอยยับหรือเสียทรง
  4. Open Top ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ ส่วนมากมีขนาด 40 ฟุต ถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ อาทิ เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูของตู้คอนเทนเนอร์ได้ และจำเป็นต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบนของตูคอนเทนเนอร์แทน
  5. Flat-Rack เป็นตู้ราบที่มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดมาตรฐานของคอนเทนเนอร์ แต่เป็นตู้ที่คล้ายกับตู้คอนเทนเนอร์เพียงแต่มีพื้นที่สำหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะพิเศษ เช่น แท่งหิน, เครื่องจักร, รถแทรกเตอร์ โดยสินค้าเหล่านี้อาจขนส่งด้วยเรือที่เป็น Conventional Ship แต่เมื่อเลือกขนส่งด้วยเรือในระบบ Container จะต้องวางอยู่ในแนวราบหรือ Flat-Rack เพื่อให้สามารถจัดเรียงในรูปแบบที่ยาวเรียงกัน

ลักษณะของเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (Container Vessel)

เป็นเรือที่ถูกออกแบบมาสำหรับบรรทุกตู้สินค้าโดยเฉพาะ เรือสินค้าแต่ละลำจะมีที่ยกตู้ เรียกว่า Quay Cranes ประมาณ 1-4 ตัว โดย Crane แต่ละตัวนั้น จะทำการยกหรือลำเลียงตู้ที่ได้วางอยู่ตามความลึกของเรือ โดยจะวางเรียงกันเป็นแบบ Column หรือเป็นแถว

ปัจจุบันเรือบรรทุกมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 2,700 TEU หากเรือที่มีขนาดใหญ่อยู่ในชั้นที่เรียกว่า SX Class หรือที่เรียกว่า Super Post Panamax จะมีความยาวเฉลี่ย 320×330 เมตร กินน้ำลึกอยู่ประมาณ 13-14 เมตร สามารถวางคอนเทนเนอร์ตามความกว้างได้ประมาณ 20-22 แถว และบรรทุกตู้สินค้าได้สูงสุดประมาณ 8,000TEU

ในอนาคตกำลังมีการต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก ในชั้นของ Malaccamax ช่วยให้ขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ 18,000 TEU และด้วยขนาดเรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นนี้ จึงมีผลทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง เพราะลดต้นทุนแปรผัน ที่เรียกว่า Variable Cost ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการบริหารจัดเพื่อที่จะหาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการและผู้ให้บริการชิปปิ้ง

อ้างอิงข้อมูล : http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1006.php