ว่าด้วยเรื่องของชิปปิ้งหรือระบบโลจิสติกส์นั้น ตามปกติแล้วทุกๆ 2 ปี World Bank หรือธนาคารโลก จะมีการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานด้าน Logistics ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และมีค่าดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์หรือที่เรียกกันว่า LPI (Logistic Performance Index)
โดยค่าดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์นั้น จะมีการให้คะแนนหรือที่เรียกว่า LPI Scores ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ในประเทศนั้นๆ
สำหรับคะแนน LPI Scores นั้น ประกอบด้วย 6 ปัจจัยชี้วัด ได้แก่
- ประสิทธิภาพของการดำเนินการด้านกรมศุลกากร (Customs)
- คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง (Infrastructure)
- การจัดการขนส่งสินค้าด้วยราคาที่แข่งขันได้ (International Shipments)
- ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence)
- การติดตามสถานการณ์ขนส่ง (Tracking & Tracing)
- ความตรงต่อเวลาในการจัดส่ง (Timeliness)
ประเทศที่ได้คะแนน LPI สูงนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการด้านชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านต้นทุน ระยะเวลา และความน่าเชื่อถือ ซึ่งในปีล่าสุดคือ 2018 World Bank ได้จัดอันดับ LPI (Logistic Performance Index) ไว้ทั้งหมด 160 ประเทศทั่วโลก โดยอันดับ 5 อันดับแรกของโลก ยังคงเป็นเยอรมนี (LPI Score : 4.20) สวีเดน (4.05) เบลเยียม (4.04) ออสเตรีย (4.03) และญี่ปุ่น (4.03)
อย่างไรก็ตาม Thaitopcargo แสดงให้เห็นเฉพาะ 7 อันดับของประเทศโซนเอเชีย ที่ได้คะแนน LPI สูงสุดใน 160 ประเทศทั่วโลก ดังนี้
อันดับ 1 คือ ญี่ปุ่น คะแนน LPI 4.03 เท่ากับประเทศออสเตรีย และเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
อันดับ 2 คือ สิงคโปร์ คะแนน LPI 4.00
อันดับ 3 คือ ฮ่องกง คะแนน 3.92
อันดับ 4 คือ จีน คะแนน 3.61
อันดับ 5 คือ ไต้หวัน คะแนน 3.60
อันดับ 6 คือ ประเทศไทย คะแนน 3.41
อันดับ 7 คือ เวียดนาม คะแนน 3.27
Caroline Freund, Director, Macroeconomics, Trade & Investment กลุ่ม World Bank กล่าวไว้ว่า “ระบบโลจิสติกส์ที่ดี จะช่วยลดต้นทุนการค้า แต่ห่วงโซ่อุปทานยังคงแข็งแกร่ง ส่วนด้านการพัฒนาประเทศ การทำให้ระบบโลจิสติกส์ไปในทิศทางที่ดีนั้น หมายความว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ภาษีศุลกากร ทักษะและกฎข้อบังคับต่างๆ ภายในประเทศ”
สำหรับสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจากการจัดอันดับ LPI Scores ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
- แรงงาน/การขาดแคลนด้านทักษะ ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องการผู้นำ ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการกรรมกรหรือชนชั้นแรงงาน
- ระบบโลจิสติกส์ที่ดี จะมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศที่มีระบบโลจิสติกส์ที่ดี มีแนวโน้มที่จะมองหาทางเลือกในการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาจากการขนส่งสูง 23%
- เตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ ประเทศที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มที่จะเตรียมพร้อมกับภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์สูงกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำ
- อาชีพทางด้านโลจิสติกส์ ยังคงรุ่งโรจน์ต่อไปในอนาคต รวมไปถึงความต้องการของบุคลากรด้านชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้การเลือกเรียนสาขาโลจิสติกส์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เช็คสถิติคะแนนโลจิสติกส์ สอบเข้าสถาบันดังในสหรัฐฯ ปี 2018
ข้อมูลอ้างอิง : https://lpi.worldbank.org/