ชิปปิ้ง จับตา สกุลเงินดิจิทัลในอีก 5 ปีข้างหน้า

ชิปปิ้ง จับตา เงินดิจิทัลในอีก 5 ปีข้างหน้า-thaitopcargo ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง จับตา สกุลเงินดิจิทัลในอีก 5 ปีข้างหน้า                                                                 5                                thaitopcargo 768x402

ชิปปิ้ง ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มีการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและการถือกำเนิดขึ้นของเงินดิจิทัล ซึ่งรัฐบาลกำลังมองหาแนวทางปรับตัวให้เข้ากับการที่ผู้คนในปัจจุบันที่ไม่พกเงินสดมากขึ้น

มีรายงานล่าสุดกล่าวว่า สกุลเงินดิจิทัลของประเทศอาจหมายถึง การรวมทางการเงินที่มากขึ้น อาชญากรรมการเงินที่น้อยลงและการส่งข้อมูลข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปัจจุบันธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกกำลังพิจารณาที่จะพัฒนาและออกสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลภายใน 5 ปีข้างหน้านี้

        จากรายงานของ Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF) และ IBM ระบุว่า “ธนาคารกลางมีการตอบสนองกับความเป็นจริงที่ว่า สกุลเงินดิจิตอลทั้งส่วนตัวหรือสาธารณะจะเป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบการเงินทั่วโลก”  โดยเงินสกุลดิจิทัลอาจมาจากธนาคารกลางของประเทศแนวหน้าที่ร่ำรวยและประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นส่วนประกอบหรือแทนที่เหรียญและธนบัตรก็ได้ ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมและความยืดหยุ่นของระบบการชำระเงินของประเทศโดยการลดอัตราการใช้เงินสดลง

       อันที่จริงแล้ว ประโยชน์ของเงินสกุลดิจิตอลประจำชาตินั้น อาจหมายถึงมีการรวมทางการเงินมากขึ้น เศรษฐกิจมืด ซึ่งเป็นช่องทางในการเคลื่อนย้ายเงินอย่างผิดกฎหมายและอาชญากรรมทางการเงินจะลดน้อยลง นอกจากนี้ยังทำให้แรงงานข้ามชาติสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลายประเทศได้ทดลองใช้รูปแบบของสกุลเงินดิจิทัลแล้วในปี 2560 อาทิ อุรุกวัยเปิดตัว E-peso หรือโครงการนำร่อง ที่เปิดให้สาธารณชนใช้เแทนเงินสกุลดิจิทัลแทนเงินสดได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้สิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2561 และตั้งแต่นั้นมาธนาคารกลางของประเทศอุรุกวัย ก็ได้พิจารณาต่อว่าจะใช้สกุลเงินดิจิทัลนี้ได้จริงหรือไม่และจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของประเทศอย่างไร

ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสวีเดน ได้เล็งเห็นการลดลงของการใช้เงินสดและเงินสกุลดิจิทัลมีค่าเทียบเท่าเงินสด รวมทั้งเจ้าหน้าที่การเงินได้เริ่มทดลองใช้ E-krona เพื่อทดสอบการใช้เงินสดที่ลดลงมาหลายปี ต่อมาในเดือนเมษายนธนาคารกลางจึงได้ขอให้รัฐสภาทบทวนบทบาทและความสำคัญของเงินในธนาคารกลางต่อเศรษฐกิจของสวีเดน รวมทั้งชาวสวีเดนก็มีมาตรการที่จะเรียกร้องให้มีการพัฒนามากขึ้นในระดับสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ธนาคารกลางของบาฮามาสยังประกาศ ‘Project Sand Dollar’ ในเดือนมีนาคมของปีนี้ ซึ่งโครงการนี้ประกอบด้วย CBDC (Central Bank Digital Currency หรือการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง) ที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Blockchain มีวัตถุประสงค์ในการทำให้ระบบการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง CBDC นั้นจะพร้อมใช้งานสำหรับทุกแพลตฟอร์มการชำระเงิน รวมทั้งที่มีอยู่ในกระเป๋าหรือในวอลเล็ตส่วนตัวและในสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารกลางคาดว่าจะมีบทบาทลดลงในการให้บริการโซลูชั่น front-end และมุ่งเน้นไปที่การรักษาบัญชีเงินดิจิทัลแบบแยกประเภท ในขณะที่กัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 20% เท่านั้นที่มีบัญชีธนาคารหรือบัญชีเงินมือถือ ธนาคารกลางกัมพูชาได้เริ่มทดลองใช้เทคโนโลยีแบบ Blockchain เพื่ออัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ธนาคารกลางของกัมพูชาและประเทศไทย ยังได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงเพื่อสร้างระบบการชำระเงินที่สามารถอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

แม้ว่าความคิดริเริ่มดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นตรงกันว่านโยบายจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงไปสู่เงินสกุลดิจิทัล ในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง Blockchain จะเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอันที่จริงยังไม่ชัดเจนนักว่าเทคโนโลยีแบบ Blockchain หรือ Analog จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะนำไปสู่การปรับใช้เป็นเงินสกุลดิจิทัลได้สำเร็จ โดยที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเทคโนโลยี

        อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์ในปัจจุบันที่รองรับการชำระเงินผ่านมือถือ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ไม่มีการทำธุรกรรมผ่านธนาคารแบบเดิมแล้ว  ซึ่งปีที่ผ่านมามีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นในการชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินจาก ระบบเงินตราเข้ารหัสลับ(cryptocurrencies) ไปจนถึงบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินที่ให้บริการด้านการทำธุรกรรม นอกจากนี้ Facebook  ยังประกาศแผนการที่จะผลักดันสกุลเงินดิจิทัลของตนเองอย่าง Libra ในขณะที่ธนาคารกลางได้ทดลองใช้แนวคิดของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางของตนเอง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับการชำระเงินและการทำธุรกรรมในธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง

        ในประเทศไทยแม้จะยังไม่มีการใช้เงินสกุลดิจิทัลอย่างแพร่หลาย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มในการใช้เงินทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเติมเงินเข้า E-wallet สำหรับซื้อของในร้านสะดวกซื้อ การยื่นภาษี E-payment (ศึกษาข้อมูลภาษีออนไลน์เพิ่มเติมที่ ภาษี…ที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ควรรู้ ) หรือการเติมเงินเข้าระบบในการชิปปิ้งและนำเข้าสินค้าสินค้าจากต่างประเทศผ่านบริษัทตัวแทนอย่าง Thaitopcargo ที่ให้บริการชิปปิ้งสินค้าจากจีน ซึ่งทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้นเพื่อให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้นี้