Shippingจีน เทคนิคเพิ่มยอดขายออนไลน์ ด้วยกลยุทธ์ Social Commerce

Shippingจีน เทคนิคเพิ่มยอดขายออนไลน์ ด้วยกลยุทธ์ Social Commerce-thaitopcargo shippingจีน Shippingจีน เทคนิคเพิ่มยอดขายออนไลน์ ด้วยกลยุทธ์ Social Commerce                 768x402

Shippingจีน  แม้ว่ายอดค้าปลีกส่วนใหญ่จะยังคงมาจากห้างร้าน แต่ยอดขายออนไลน์ทั่วโลก ต่างก็มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น จนเป็นที่คาดการณ์กันว่าในปี พ.ศ. 2566 ยอดขายออนไลน์จะสูงกว่า 22% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด 

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกา พบว่า ส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมดของยอดค้าปลีกออนไลน์ในสหรัฐฯ สูงกว่ายอดขายสินค้าทั่วไปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ดังนั้น เราจะเห็นว่าทำไมแบรนด์ต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการลงทุนในการขายออนไลน์มากขึ้น

การสำรวจครั้งล่าสุดของผู้บริหารร้านค้าปลีกกว่า 200 ราย โดย Retail และ Stackla พบว่า 50% ของแบรนด์ค้าปลีกกำลังเร่งมือทำงานอย่างหนักเพื่อทำการโฆษณาทาง Social Media โดยใช้กลยุทธ์ Social Commerce อีก 75% กล่าวว่าพวกเขาจะเพิ่มหรือคงการลงทุนในตลาด Social อีก 12 เดือนข้างหน้า

Thaitopcargo ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน (Shippingจีน) พาไปอัพเดทกับกลยุทธ์การใช้ Social Commerce ที่ผู้ค้าปลีกใช้เพื่อช่วงชิงผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายออนไลน์ในปีนี้

1. เรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า
Social Commerce คือเครือข่ายสังคมค้าขายออนไลน์ ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาพบเจอกัน ซึ่งการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ดีที่สุดคือการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภค พร้อมกับปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค อาทิ

◾ ลงทุนในช่องทางที่ถูกต้อง
แบรนด์ต่างๆ ต่างมีงบประมาณและทรัพยากรที่จำกัด แต่มีแพลตฟอร์มโซเชียลดิจิทัลขนาดใหญ่ ที่ผู้คนทั่วโลกใช้งานทุกวัน ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าของคุณมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้เปรียบในการเจาะตลาดไปสู่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น ควรตรวจสอบดูว่าลูกค้าใช้ช่องทางใดในการค้นหาข้อมูลและแบ่งปันเนื้อหา

◾ ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นอยู่เสมอ
เมื่อมีแพลตฟอร์มใหม่เกิดขึ้นและพฤติกรรมของลูกค้ายังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่องทางหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ดีในอนาคต เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการ จึงควรอัพเดทกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

2. บริหารประสบการณ์ผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ
ความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญที่มาเป็นอันดับแรกๆ เสมอ เมื่อพูดถึงการช็อปปิ้งยุคใหม่ โดยแบรนด์ที่สามารถสร้างกระบวนการซื้อแบบ end-to-end ได้หรือมีขั้นตอนการให้บริการที่ราบรื่นไร้ปัญหามักจะเป็นข้อได้เปรียบ และทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อแบรนด์นั้นๆ จนไม่อาจปันใจไปใช้บริการกับแบรนด์อื่น เพราะฉะนั้น ร้านค้าจึงควรมอบประสบการณ์การให้บริการที่ดีที่สุด เช่น เน้นแพลตฟอร์มที่ง่ายต่อการใช้งาน มีระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ทันสมัย ไม่ซับซ้อน และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ควรมีอัพเดทร้านค้าใน Social Commerce อย่างสม่ำเสมอ

3. ใช้ประโยชน์จากเนื้อหาที่สร้างโดยผู้ใช้งานและ Oraganic Influencers
เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (UGC : User Generated Content หมายถึง การที่ผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผลิตคอนเทนต์ด้วยตัวเอง ซึ่งคอนเทนต์ที่ผลิตออกมานั้น จะมีการกล่าวถึงแบรนด์นั้นๆ ที่ผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้นมีความสนใจ โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้างผู้บริโภคกลุ่มนี้เลย) ทั้งรูปภาพ วิดีโอ และบทวิจารณ์ ที่ผู้คนโพสต์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ มักถูกมองว่าเป็นเนื้อหาที่เชื่อถือได้จริงและมีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับผู้บริโภค เนื้อหาดังกล่าวจึงถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างเหลือเชื่อสำหรับนักการตลาด ในความเป็นจริง เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมักถูกมองว่ามีอิทธิพลมากกว่า Influencers ดั้งเดิมถึง 9.8 เท่า

แนวโน้มนี้ชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่า โซเชียลมีเดียได้จำกัดยอด Organic ลงไปเรื่อยๆ ทำให้พลังของ Influencer ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก กลับถูกนักการตลาดเริ่มมองข้ามและหันไปให้ความสำคัญกับ Micro Influencer มากขึ้น โดย Micro Influencer มักจะเป็นผู้ที่มีคนติดตามไม่มากนัก แต่มักเป็นคนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ตัวเองถนัดเป็นอย่างดี 

คนกลุ่มนี้มักจะทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจจริงๆ จึงถูกมองว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ และดึงดูดยอด Organic Reach ที่สูงลิ่ว จนถูกนักการตลาดใช้เป็นช่องทางในการโปรโมตแบรนด์ได้โดยไม่ต้อง Boost Post ดังนั้น ผู้ค้าปลีกควรพิจารณาเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างเนื้อหา โดยเน้น Oraganic Influencers แทน

ที่มาข้อมูล : https://www.socialmediatoday.com